ถนนสุขุมวิท () ซึ่งมีระยะทางส่วนใหญ่เป็น ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3 สายบางนา–หาดเล็ก เป็นหนึ่งในทางหลวงแผ่นดินสายประธานทั้งสี่ของประเทศไทย จุดเริ่มต้นที่ขอบทางรถไฟสายแม่น้ำฝั่งตะวันออกบริเวณแยกใต้ทางด่วนเพลินจิต ซึ่งเป็นทางต่อเนื่องจากถนนเพลินจิต ในกรุงเทพมหานคร เลียบตามชายฝั่งทะเลภาคตะวันออก และไปสิ้นสุดที่ด่านพรมแดนในอำเภอคลองใหญ่ จังหวัดตราด ติดต่อกับชายแดนจังหวัดเกาะกง ประเทศกัมพูชา รวมระยะทางยาวทั้งสิ้นประมาณ 488 กิโลเมตร
left|thumb|ป้ายชื่อถนนสุขุมวิท เขียนเป็นอักษรภาษาไทยและอักษรภาษาอังกฤษ ถนนสุขุมวิทในกรุงเทพมหานคร มีประวัติเริ่มต้นมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 24621 เมื่อนางสาว อี.เอส.โคล หรือ "แหม่มโคล" ครูใหญ่โรงเรียนกุลสตรีวังหลัง ได้ย้ายโรงเรียนจากข้างโรงพยาบาลศิริราชมาอยู่ริมคลองแสนแสบซึ่งตอนนั้นยังไม่มีชุมชน การคมนาคมก็มีเพียงแต่คลองแสนแสบ จึงขอพระราชทานพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งก็ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตัดถนนเพลินจิตต่อจากถนนปทุมวัน (ถนนพระรามที่ 1) จนถึงจุดบรรจบบนถนนวิทยุที่แยกไปสถานีวิทยุโทรเลข (แยกเพลินจิต) ซึ่งถนนดังกล่าวอยู่ในแนวถนนที่เจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม) ดำริจะตัดไปสมุทรปราการอยู่แล้ว แต่กรมสุขาภิบาลยังไม่มีเงินสร้าง ในปี พ.ศ. 2466 โรงเรียนกุลสตรีวังหลังเปลี่ยนชื่อเป็นโรงเรียนวัฒนาวิทยาลัย นาย เอ.อี.นานา ได้เรี่ยไรเจ้าของที่ดินในย่าน แล้วนำเงินมาให้กรมสุขาภิบาลขุดคลองเอาดินพูนขึ้นเป็นถนน จากจุดตัดของถนนเพลินจิตกับถนนวิทยุ ไปจนถึงซอยเข้าโรงเรียนวัฒนาวิทยาลัย (ซอยสุขุมวิท 19) เป็นระยะทาง 3,072 เมตร
ต่อมาในปี พ.ศ. 2470 สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ายุคลทิฆัมพร กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ เสนาบดีกระทรวงมหาดไทย ได้ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตจากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เพื่อตัดถนนต่อจากปากซอยสุขุมวิท 19 ไปจนถึงจังหวัดสมุทรปราการ ได้ชื่อว่า "ถนนกรุงเทพฯ-สมุทรปราการ" เปิดใช้งานเมื่อวันที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2479 ต่อมาพระพิศาลสุขุมวิท (ประสพ สุขุม) อธิบดีกรมทางในขณะนั้น ซึ่งเป็นบุตรของเจ้าพระยายมราชและท่านผู้หญิงตลับ ได้จัดทำ "โครงการก่อสร้างทางหลวงแผ่นดินแห่งราชอาณาจักรไทย" เป็นแม่บทในการสร้างทางหลวงเป็นเครือข่ายครอบคลุมทั่วประเทศ ถนนกรุงเทพฯ-สมุทรปราการ ถูกกำหนดให้เป็นทางสายหลักของภาคตะวันออก จึงสร้างต่อจากสมุทรปราการ ผ่านชลบุรี ระยอง ไปจนถึงตัวเมืองตราด เรียกชื่อว่า "ถนนกรุงเทพฯ-ตราด" ทำให้คณะรัฐบาลสมัยจอมพล ป.พิบูลสงคราม ได้มีมติให้ตั้งชื่อทางหลวงสายกรุงเทพฯ-ตราดว่า ถนนสุขุมวิท เพื่อเป็นเกียรติแก่พระพิศาลสุขุมวิท เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2493
ต่อมาได้มีการกำหนดให้รวมทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 318 ตลอดทั้งสาย (ช่วงตัวเมืองตราด��ึงด่านพรมแดนบ้านหาดเล็ก อำเภอคลองใหญ่) ให้เป็นส่วนหนึ่งของทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3 ทำให้ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3 มีระยะทางเพิ่มขึ้นอีก 89 กิโลเมตร
|- | กรุงเทพมหานคร | align = "right" | 7.83 | align = "right" | 12.6 |- | จังหวัดสมุทรปราการ | align = "right" | 25.79 | align = "right" | 41.5 |- | จังหวัดฉะเชิงเทรา | align = "right" | 14.04 | align = "right" | 22.6 |- | จังหวัดชลบุรี | align = "right" | 65.24 | align = "right" | 105 |- | จังหวัดระยอง | align = "right" | 63.38 | align = "right" | 102 |- | จังหวัดจันทบุรี | align = "right" | 55.05 | align = "right" | 88.6 |- | จังหวัดตราด | align = "right" | 65.59 | align = "right" | 112 |- |รวม | align = "right" | 300.93 | align = "right" | 484.3 |}
[220px|thumb|left|แผนที่ถนนสุขุมวิทในกรุงเทพมหานคร](ไฟล์:Sukhumvit_Bangkok.png "wikilink") [220px|thumbnail|left|ถนนสุขุมวิทในเขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร](ไฟล์:Sukhumvit_Road_-01.jpg "wikilink") ถนนสุขุมวิทเริ่มนับหลักกิโลเมตรที่ 0 ที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย กรุงเทพมหานคร ไปทางทิศตะวันออกตามถนนราชดำเนินกลาง ถนนมหาไชย ถนนบำรุงเมือง ถนนพระรามที่ 1 ถนนเพลินจิต และได้เริ่มเรียกชื่อถนนสุขุมวิทตั้งแต่ขอบฝั่งตะวันออกของทางรถไฟสายแม่น้ำ (สายแยกจากทางรถไฟสายตะวันออก) ใต้ทางพิเศษเฉลิมมหานคร บริเวณแยกใต้ทางด่วนเพลินจิต มุ่งหน้าไปทางทิศตะวันออก เป็นเส้นแบ่งเขตการปกครองระหว่างเขตวัฒนากับเขตคลองเตย ระหว่างทางตัดกับถนนรัชดาภิเษกและถนนอโศกมนตรีที่แยกอโศกมนตรี ตัดกับถนนทองหล่อที่แยกทองหล่อ ตัดกับถนนเอกมัยที่แยกเอกมัยใต้ ตัดกับถนนพระรามที่ 4 และถนนสุขุมวิท 71 ที่แยกพระโขนง ลอดใต้ทางพิเศษฉลองรัช และตัดกับถนนอ่อนนุชที่แยกอ่อนนุช และตัดกับซอยสุขุมวิท 52 เข้าสู่พื้นที่เขตพระโขนง เป็นเส้นแบ่งเขตการปกครองระหว่างแขวงพระโขนงใต้กับแขวงบางจากตลอดทั้งเขต ตัดกับถนนวชิรธรรมสาธิตเข้าสู่พื้นที่แขวงบางนาเหนือ เขตบางนา ตัดกับถนนอุดมสุขที่แยกอุดมสุข และตัดกับถนนสรรพาวุธและถนนเทพรัตนที่แยกบางนาเข้าสู่พื้นที่แขวงบางนาใต้ ตัดกับซอยสุขุมวิท 70 และซอยลิขิต 45 เข้าสู่จังหวัดสมุทรปราการ
ถนนสุขุมวิทช่วงต้น ๆ สายที่ผ่านกรุงเทพมหานคร ถือเป็นเขตธุรกิจสำคัญแห่งหนึ่งของกรุงเทพมหานคร ตามซอยต่าง ๆ ตลอดแนวถนนสุขุมวิทในช่วงนี้ยังเป็นที่อยู่อาศัยของชาวต่างชาติเป็นจำนวนมาก นอกจากนี้ยังเป็นแหล่งบันเทิงใหญ่ของเมืองอีกด้วย
เมื่อเข้าสู่จังหวัดสมุทรปราการ แนวเส้นทางจะผ่านอำเภอเมืองสมุทรปราการ ตัดกับทางพิเศษกาญจนาภิเษกที่ทางแยกต่างระดับสุขุมวิท จากนั้นเส้นทางจะเลี่ยงเมืองไปทางทิศตะวันออก เลียบคลองชลประทาน แล้วข้ามคลองด่านน้อยเข้าสู่อำเภอบางบ่อ
ถนนสุขุมวิทในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดสมุทรปราการมีแนวระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนตามแผนแม่บทโครงข่ายระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในกรุงเทพมหานครและพื้นที่ต่อเนื่องอยู่ 1 สาย คือรถไฟฟ้าบีทีเอส สายสุขุมวิท โดยวิ่งบนเกาะกลางของถนนสุขุมวิท โดยตั้งแต่สถานีนานาถึงสถานีแบริ่ง อยู่ในการดูแลของกรุงเทพมหานคร และตั้งแต่สถานีสำโรงจนถึงสถานีเคหะฯ ควบคุมการก่อสร้างโดยการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย แต่หลังสร้างเสร็จแล้วก็ได้โอนให้กับกรุงเทพมหานครตามคำสั่งมาตรา 44 ของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
ถนนสุขุมวิทในเขตจังหวัดสมุทรปราการ ตั้งแต่ทางแยกคลองส่งน้ำสุวรรณภูมิ (กิโลเมตรที่ 47+450) จนถึงกิโลเมตรที่ 62+000 (แนวเส้นแบ่งเขตกับจังหวัดฉะเชิงเทรา) อยู่ระหว่างดำเนินการก่อสร้างขยายช่องจราจร จากเดิม 2-4 ช่องจราจร เป็น 6 ช่องจราจรตลอดสาย (ยกเว้นช่วงสะพานข้ามคลองด่าน) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจราจรจากกรุงเทพมหานคร สู่ภาคตะวันออก ที่มีปริมาณการจราจรสูงขึ้นในอนาคต
เมื่อเข้าสู่อำเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา ขนาดเส้นทางของถนนสุขุมวิทจะลดลงเหลือ 2 ช่องจราจรจนถึงแยกคลองอ้อม ตัดกับถนนเทพรัตน และทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 314 แล้วนับกิโลเมตรไปตามถนนเทพรัตน เข้าสู่อำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี เมื่อผ่านทางแยกต่างระดับหนองไม้แดงไปแล้ว ถนนสุขุมวิทจะเบี่ยงไปทางทิศตะวันตกเข้าสู่ตัวเมืองชลบุรี แล้วผ่านอำเภอศรีราชา อำเภอบางละมุง ผ่านเมืองพัทยา และอำเภอสัตหีบ เข้าสู่จังหวัดระยอง ผ่านท่าอากาศยานนานาชาติอู่ตะเภา อำเภอบ้านฉาง อำเภอเมืองระยอง ตัดกับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 36 ที่แยกปลวกเกตุ แล้วผ่านอำเภอแกลง เข้าสู่จังหวัดจันทบุรี ผ่านอำเภอนายายอาม อำเภอท่าใหม่ อำเภอเมืองจันทบุรี อำเภอแหลมสิงห์ และอำเภอขลุง เข้าสู่จังหวัดตราด ผ่านอำเภอเขาสมิง อำเภอเมืองตราด และสิ้นสุดที่ด่านพรมแดนบ้านหาดเล็ก อำเภอคลองใหญ่ เชื่อมต่อกับทางหลวงหมายเลข 48 ในจังหวัดเกาะกง ประเทศกัมพูชา
ถนนสุขุมวิท ช่วงกิโลเมตรที่ 62+000 (แนวเส้นแบ่งเขตกับจังหวัดสมุทรปราการ) ถึงทางแยกคลองอ้อม อยู่ระหว่างดำเนินการก่อสร้างขยายช่องจราจรเป็น 6 ช่องจราจรตลอดสาย โดยช่วงบ้านแสมขาว (กิโลเมตรที่ 64+600) ถึงทางแยกคลองอ้อม ก่อสร้างแล้วเสร็จเรียบร้อยแล้ว
ถนนสุขุมวิท ช่วงกิโลเมตรที่ 137+640 ถึงกิโลเมตรที่ 153+200 เดิมอยู่ในความควบคุมของกรมทางหลวง แต่ปัจจุบันอยู่ในความควบคุมของของเมืองพัทยา และช่วงตั้งแต่แยกปลวกเกตุไปจนถึงด่านพรมแดนบ้านหาดเล็ก ได้ถูกกำหนดให้เป็นส่วนหนึ่งของทางหลวงเอเชียสาย 123
ถนนสุขุมวิท แบ่งเขตการควบคุมออกเป็น 22 ตอน ได้แก่
หมายเหตุ: ช่วงเขตการควบคุมของแขวงทางหลวงชลบุรีที่ 2 ช่วงที่ 7 และ 8 ตอน ชลบุรี - ศรีราชา จะใช้เลขตอนที่ 0401 เป็นเลขเดียวกันทั้ง 2 ช่วง และช่วงเขตการควบคุมของแขวงทางหลวงตราด ช่วงที่ 19 และ 20 ตอน แม่น้ำเวฬุ - เขาสมิง จะใช้เลขตอนที่ 0702 เป็นเลขเดียวกันทั้ง 2 ช่วง เนื่องจากอยู่ช่วงระหว่างเขตเทศบาลเมืองชลบุรี และ เทศบาลเมืองแสนสุข และระยะทางสั้นในช่วง แม่น้ำเวฬุ - เขาสมิง
ช่วงที่ | ตอน | ชื่อตอน | หลัก กม. | ระยะทาง (กม.) | หมวดทางหลวง | แขวงทางหลวง | จังหวัด |
---|---|---|---|---|---|---|---|
1 | 0101 | บางนา - แบริ่ง | 16+389 - 18+500 | 2.111 | หมวดทางหลวงสมุทรปราการ | สมุทรปราการ | กรุงเทพมหานคร |
2 | 0102 | แบริ่ง - ท้ายบ้าน | 18+500 - 31+600 | 13.100 | สมุทรปราการ | ||
3 | 0103 | ท้ายบ้าน - บางตำหรุ | 31+600 - 40+550 | 8.950 | หมวดทางหลวงบางปู | ||
4 | 0104 | บางตำหรุ - คลองด่าน | 40+550 - 62+000 | 21.450 | |||
5 | 0200 | คลองด่าน - บางปะกง | 62+000 - 76+022 | 14.022 | หมวดทางหลวงบางปะกง | ฉะเชิงเทรา | ฉะเชิงเทรา |
6 | 0300 | หนองไม้แดง - ชลบุรี | 87+450 - 92+460 | 5.220 | หมวดทางหลวงหนองไม้แดงที่ 1 | ชลบุรีที่ 1 | ชลบุรี |
เข้าเขตเทศบาลเมืองชลบุรี | |||||||
ออกเขตเทศบาลเมืองชลบุรี | |||||||
7 | 0401 | ชลบุรี - ศรีราชา | 94+929 - 103+760 | 8.831 | หมวดทางหลวงบางแสน | ชลบุรีที่ 2 | ชลบุรี |
เข้าเขตเทศบาลเมืองแสนสุข | |||||||
ออกเขตเทศบาลเมืองแสนสุข | |||||||
8 | 0401 | ชลบุรี - ศรีราชา | 109+900 - 116+800 | 6.900 | หมวดทางหลวงบางแสน | ชลบุรีที่ 2 | ชลบุรี |
เข้าเขตเทศบาลเมืองศรีราชา | |||||||
ออกเขตเทศบาลเมืองศรีราชา | |||||||
9 | 0402 | ศรีราชา - พัทยา | 119+500 - 137+640 | 18.140 | หมวดทางหลวงบางละมุง | ชลบุรีที่ 2 | ชลบุรี |
เข้าเขตเมืองพัทยา | |||||||
ออกเขตเมืองพัทยา | |||||||
10 | 0403 | พัทยา - พลูตาหลวง | 153+200 - 186+307 | 33.107 | หมวดทางหลวงสัตหีบ | ชลบุรีที่ 2 | ชลบุรี |
11 | 0501 | พลูตาหลวง - มาบตาพุด | 186+307 - 207+000 | 20.693 | หมวดทางหลวงบ้านฉาง | ระยอง | ระยอง |
12 | 0502 | มาบตาพุด - ระยอง | 207+000 - 216+990 | 9.990 | หมวดทางหลวงทับมา | ||
เข้าเขตเทศบาลนครระยอง | |||||||
ออกเขตเทศบาลนครระยอง | |||||||
13 | 0503 | ระยอง - กะเฉด | 223+650 - 248+000 | 24.350 | หมวดทางหลวงเชิงเนิน | ระยอง | ระยอง |
14 | 0504 | กะเฉด - นายายอาม | 248+000 - 287+889 | 39.889 | หมวดทางหลวงแกลง | ||
15 | 0601 | นายายอาม - บ้านสิ้ว | 287+889 - 312+000 | 24.111 | หมวดทางหลวงท่าใหม่ | จันทบุรี | จันทบุรี |
16 | 0602 | บ้านสิ้ว - โพธิ์ทอง | 312+000 - 327+000 | 15.000 | หมวดทางหลวงบางกะจะ | ||
17 | 0603 | โพธิ์ทอง - บ้านพลิ้ว | 327+000 - 348+500 | 21.500 | หมวดทางหลวงพลับพลา | ||
18 | 0701 | บ้านพลิ้ว - แม่น้ำเวฬุ | 348+500 - 375+533 | 27.033 | หมวดทางหลวงขลุง | ตราด | |
19 | 0702 | แม่น้ำเวฬุ - เขาสมิง | 375+533 - 376+650 | 1.117 | หมวดทางหลวงช้างทูน | ตราด | |
20 | 376+970 - 383+000 | 6.030 | |||||
21 | 0703 | เขาสมิง - แม่น้ำตราด | 383+000 - 401+459 | 18.459 | หมวดทางหลวงวังกระแจะ | ||
22 | 0704 | แม่น้ำตราด - หาดเล็ก | 401+459 - 488+387 | 86.928 | หมวดทางหลวงแหลมกลัด | ||
รวม | 22 ตอนควบคุม | รวมระยะทาง | 426.931 กม. |
ถนนสุขุมวิท
กรุงเทพมหานคร
จังหวัดสมุทรปราการ
จังหวัดฉะเชิงเทรา
จังหวัดชลบุรี
จังหวัดระยอง
จังหวัดจันทบุรี
จังหวัดตราด
แหล่งที่มาดั้งเดิม: ${vars.title} แบ่งปันกับ ใบอนุญาต Creative Commons Attribution-ShareAlike 3.0
Ne Demek sitesindeki bilgiler kullanıcılar vasıtasıyla veya otomatik oluşturulmuştur. Buradaki bilgilerin doğru olduğu garanti edilmez. Düzeltilmesi gereken bilgi olduğunu düşünüyorsanız bizimle iletişime geçiniz. Her türlü görüş, destek ve önerileriniz için iletisim@nedemek.page