ถั่วพร้า เป็นพืชประเภทหนึ่งที่ได้รับความสนใจในปัจจุบัน เพราะเป็นพืชที่ให้ธาตุไนโตรเจนในปริมาณสูง จึงนำมาทำเป็นปุ๋ยพืชสดได้เป็นอย่างดี ซึ่งทางภาครัฐก็ให้การสนับสนุนในการเพาะปลูก เนื่องจากสามารถเพาะปลูกได้ง่าย มีค่าใช้จ่ายต่ำในการนำมาใช้ประโยชน์ และไม่ส่งกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
ถั่วพร้าจัดเป็นพืชในสกุล (Genus) Canavalia ซึ่งประกอบด้วยสมาชิกประมาณ 70 – 75 ชนิด (Specie) แต่เป็นที่รู้จักกันดีในประเทศไทยมีอยู่ด้วยกันสองชนิด คือ ถั่วพร้าเมล็ดยาว และถั่วพร้าเมล็ดแดง พืชในสกุลนี้จัดอยู่ในส่วน (Division) Magnoliophyta, ชั้น (Class) Magnoliopsida, ชั้นย่อย (Subclass) Rosidae (Eurosids I) , ตระกูล (Order) Fabales, วงศ์ (Family) Fabaceae และวงศ์ย่อย (Subfamily) Faboideae
ลักษณะลำต้นของถั่วพร้าเป็นเถา ซึ่งสามารถเลื้อยสูงได้ถึง 10 เมตร อย่างไรก็ตาม จากข้อมูลของกรมวิชาการเกษตรพบว่า สามารถปลูกในลักษณะไม้พุ่มได้ เพราะลำต้นมีเนื้อไม้แข็งเป็นแกน โดยจะมีความสูงประมาณ 60 – 120 เซนติเมตร ลักษณะของใบเป็นใบรวมแบบสามใบ (trifoliolate) มีรูปร่างมนค่อนข้างกลมคล้ายไข่ ยาว 7 – 12 เซนติเมตร ดอกเป็นกลุ่ม มีสีชมพู แต่ถั่วพร้าเมล็ดแดงจะมีความแตกต่างคือ ปลายดอกจะมีสีแดง ทั้งสองชนิดมีกลีบเลี้ยงโค้ง ส่วนบนมีสีขาว ภายในดอกมีเกสรครบทั้งสองเพศ และส่วนใหญ่ (ประมาณร้อยละ 80 ของการติดผล) จะผสมพันธุ์กันเองภายในดอก
ลักษณะของฝักจะมีรูปร่างคล้ายดาบ ห้อยปลายลง เมื่อสุกจะมีสีเหลืองคล้ายฟางข้าว ถั่วพร้าเมล็ดยาวจะมีขนาดฝักกว้าง 3 – 3.5 เซนติเมตร ยาว 15 – 35 เซนติเมตร เมล็ดมีสีขาวคล้ายงาช้าง มีขนาด 1.5 – 2 เซนติเมตร ขั้วเมล็ด (hilum) ยาว 0.5 – 1 เซนติเมตร ในขณะที่ถั่วพร้าเมล็ดแดงจะมีขนาดฝักกว้างประมาณ 3.5 – 5 เซนติเมตร ยาวประมาณ 20 – 40 เซนติเมตร เมล็ดมีสีแดงอมน้ำตาล มีขนาด 2 – 3.5 เซนติเมตร ขั้วเมล็ดยาว 1.5 – 2 เซนติเมตร
ถั่วพร้าเป็นพืชที่เจริญเติบโตได้ดีในสภาพอากาศแบบร้อนชื้น มีแดดจัด มีอุณหภูมิระหว่าง 20 – 30 องศาเซลเซียส ปริมาณน้ำฝนระหว่าง 900 – 1500 มิลิเมตรต่อปี และสภาพดินเป็นดินเหนียวที่ระบายน้ำได้ดี
อย่างไรก็ตาม ถั่วพร้าสามารถเพาะปลูกได้ในพื้นที่แห้งแล้งที่มีปริมาณน้ำฝนประมาณ 700 มิลลิเมตรต่อปี หรือในพื้นที่ชุ่มที่มีปริมาณน้ำฝนถึง 4,500 มิลิเมตรต่อปี นอกจากนี้ยังสามารถเจริญเติบโตได้ในที่ร่ม ในดินเค็ม ดินที่ขาดธาตุอาหาร หรือแม้กระทั่งดินที่มีสภาพความเป็นกรดในระดั�� pH 4.5 และสามารถเพาะปลูกได้ในระดับความสูงถึง 1,000 เมตร จากระดับน้ำทะเล
ดังนี้จึงกล่าวได้ว่า ถั่วพร้าเป็นพืชที่สามารถเจริญเติบโตได้ดีในทุกภาคของประเทศไทย
วิธีการเพาะปลูกที่ใช้ปฏิบัติกันอยู่มี 3 วิธี คือ
ถั่วพร้ามีความต้านทานต่อโรคและศัตรูพืชค่อนข้างดี แต่ก็มีโรคและศัตรูพืชบ้างชนิดที่อาจทำอันตรายต่อถั่วพร้าได้ เช่น โรครากเน่า (root rot) ที่มีสาเหตุจาก Colletotrichum lindemuthianum, หนอนถั่วเหลือง Heterodera glycines, หนอน Spodoptera frugiperda และตัวอ่อนของแมลงปีกแข็งบางชนิดที่อาจเจาะเข้าไปทำลาย stem ในเมล็ดถั่วได้
นอกจากนี้ถั่วพร้ายังเป็นพาหะ (host) ของไวรัสที่ทำให้เกิดโรคจุดในมะเขือเทศ (tomato spotted wilt virus, TSWV) และทำให้ประชากรของไส้เดือน (nematode) ภายในดินลดลง
การเก็บเกี่ยวฝักอ่อนเพื่อนำไปใช้เป็นอาหารจะทำได้หลังจากการเพาะปลูกราว 3 - 4 เดือน สำหรับการเก็บเกี่ยวเมล็ดที่โตเต็มที่เพื่อนำไปทำเป็นเมล็ดแห้ง จะทำได้หลังจากการเพาะปลูกราว 5 – 10 เดือน
นิยมปฏิบัติอยู่ 2 วิธี คือ
ในการไถกลบถั่วพร้าพื้นที่ 1 ไร่ จะให้น้ำหนักสดประมาณ 2.5 - 4 ตัน ซึ่งจะได้ธาตุไนโตรเจนประมาณ 10 - 20 กิโลกรัม เทียบเท่ากับการใส่ปุ๋ยยูเรียปริมาณ 23 – 48 กิโลกรัม หรือปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟตปริมาณ 47 – 95 กิโลกกรัม โดยมีปริมาณร้อยละของไนโตเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียมประมาณ 2.00 - 2.95, 0.30 - 0.40 และ 2.20 - 3.00 หน่วยตามลำดับ อย่างไรก็ตามน้ำหนักมวลชีวภาพและปริมาณธาตุอาหารขึ้นกับปัจจัยของดินและการจัดการ
แหล่งที่มาดั้งเดิม: ${vars.title} แบ่งปันกับ ใบอนุญาต Creative Commons Attribution-ShareAlike 3.0
Ne Demek sitesindeki bilgiler kullanıcılar vasıtasıyla veya otomatik oluşturulmuştur. Buradaki bilgilerin doğru olduğu garanti edilmez. Düzeltilmesi gereken bilgi olduğunu düşünüyorsanız bizimle iletişime geçiniz. Her türlü görüş, destek ve önerileriniz için iletisim@nedemek.page