ปรากฏการณ์วิทยา คืออะไร

ปรากฏการณ์วิทยา (; (phainómenon) "สิ่งที่ปรากฏ" กับ (lógos) "การพูด, การศึกษา") เป็นวิธีการทางปรัชญาที่มีเป้าประสงค์เพื่อศึกษาโครงสร้างเชิงอุตระของสำนึก และสาระของสัต โดยการย้อนกลับไปที่ข้อมูลที่มีอยู่ในสำนึก ปรากฏการณ์วิทยาพยายามค้นหาความจริง แต่ความจริงที่ปรากฏการณ์วิทยาแสวงหานั้นอยู่ใน “โลกที่ปรากฏต่อหน้า” (immanence) หาใช่การมุ่งก้าวพ้นผ่านประสบการณ์ ไปสู่โลกของแบบ หรือแม้แต่พระเจ้า อันเป็นความจริงสูงสุดที่รองรับยืนยันโลกปรากฏแต่อย่างใดไม่ ดังชื่อของปรัชญาของสำนักนี้ได้ระบุไว้ว่า จุดยืนในการหาความจริงวางอยู่บนฐานที่เรียกว่า “ประสบการณ์” ในความหมายที่กว้างที่สุด ในแง่นี้ ปรากฏการณ์วิทยา (phenomenology) คือสำนักทางปรัชญาที่เน้นการหาความจริงในปรากฏการณ์ (phenomena)

การให้คำนิยามที่ชัดเจนกับคำว่า ปรากฏการณ์วิทยา เป็นเรื่องยาก เพราะปรากฏการณ์วิทยาเป็นแนวคิด หรือ คอนเซปต์ที่แตกออกไปได้หลากหลายแขนง และนักปรัชญาในสายความคิดนี้มีวิธีการมองและวิธีการเข้าหาปัญหาแตกต่างกัน แต่เราสามารถเข้าใจจุดร่วมที่นักปรัชญาแต่ละท่านมีร่วมกันได้ จุดร่วมนี้คือการมองว่าปรากฏการณ์วิทยาคือ การศึกษาสำนึกจากแง่มุมของมนุษย์ในฐานะประธานบุรุษที่หนึ่ง หรือพูดอีกอย่างหนึ่งว่า ปรากฏการณ์วิทยาปฏิเสธการค้นคว้าในเชิงภาวะวิสัย (objective research) เหมือนอย่างการศึกษาทางจิตวิทยา ซึ่งเน้นการศึกษาธรรมชาติของจิตที่เป็นสากล และเป็นกลาง ดังนั้นพื้นฐานที่สำคัญที่สุดของสำนักความคิดนี้ จึงหลีกเลี่ยงการศึกษาสำนึกอย่างเป็นเอกเทศ หรืออย่างเดี่ยวๆ แต่เน้นว่าเราต้องศึกษาสำนึกในฐานะที่สำนึกต้องพุ่งไปสู่อะไรบางอย่าง ดังที่ฮุสเซิร์ลกล่าวไว้ว่า การสำนึกคือการสำนึกถึงอะไรบางอย่าง เราเรียกกระบวนการที่สำนึกพุ่งไปสู่อะไรบางอย่างนี้ว่า “การพุ่งไปของเจตสำนึก” (intentionality) และเรียกวัตถุหรือสิ่งที่เราสำนึกว่า “วัตถุของการพุ่งไปของเจตสำนึก” (intentional object)

อ้างอิง

แหล่งที่มาดั้งเดิม: ${vars.title} แบ่งปันกับ ใบอนุญาต Creative Commons Attribution-ShareAlike 3.0

หมวดหมู่