วัณโรคปอดพบได้บ่อยในผู้ที่มีภูมิต้านทานในร่างกายต่ำ (โดยเฉพาะคนไข้ติดเชื้อเอดส์) คนไข้เบาหวาน ตับแข็ง โรคไต ผู้ที่ติดยาเสพติด ดื่มเหล้าจัดหรือพบได้มากในบริเวณที่มีคนอยู่กันอย่างแออัด
วัณโรคปอด (Tuberculosis,tubercle bacillus เรียกสั้นๆ ว่า "ทีบี") เป็นโรคติดต่อที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย(ประเภท acid-fast bacillus)ชื่อ ไมโครแบคทีเรียม ทูเบอร์คูโลซีส (Mycobacterium Tuberculosis) เชื้อตัวนี้สามารถก่อให้เกิดโรคได้กับอวัยวะทุกส่วนของร่างกาย มิใช่เฉพาะที่ปอดอย่างเดียว
การติดต่อของโรคมักจะรับเชื้อเข้าไปในปอดโดยตรงจากการหายใจ การไอ การจาม หรือการพูดคุยกับผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้ ดังนั้นผู้ป่วยที่ไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกวิธี นอกจากจะเป็นผลเสียต่อสุขภาพแล้ว ยังสามารถเพร่เชื้อไปสู่ผู้อื่นได้ ที่สำคัญการแพร่กระจายเชื้อมักจะเป็นไปอย่างรวดเร็ว เนื่องจากติดต่อได้ง่ายโดยระบบทางเดินหายใจ
ใครที่มีอาการน่าสงสัยดังต่อไปนี้ ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อตรวจสอบและวินิจฉัยโดยเร็ว อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร น้ำหนักลด มีไข้ต่ำๆ ตอนบ่ายหรือเย็น ตกใจตื่น และเหงื่อออกท่วมตัวตอนกลางคืน งุนงง สับสน มีอาการเจ็บหน้าอก อาการไอเรื้อรังเกิน 3 สัปดาห์ หรือไอมีเสมหะปนเลือด
แพทย์จะทำการวินิจฉัยโรคจากการซักประวัติ ตรวจร่างกาย ส่งเอกซเรย์ปอด เก็บเสมหะตรวจและเพาะเชื้อ เผื่อดูผลตรวจยืนยันว่าเป็นโรคนี้หรือไม่
การรักษาในปัจจุบันมี่ความก้าวหน้าไปมาก วัณโรคปอดสามารถรักษาให้หายขาดได้ ด้วยยาที่มีประสิทธิภาพสูงโดยใช้เวลาเพียง 6 เดือนเท่านั้น ส่วนใหญ่หลังรักษาไปแล้ว 2 สัปดาห์ โอกาสแพร่เชื้อจะต่ำลงมากคนไข้สามารถทำงานได้ตามปกติ
หากมุ่งหวังผลการรักษาที่สมบูรณ์ คนไข้จะต้องรับประทานยาอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ ตามชนิดและขาดที่แพทย์สั่งจนครบ ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด มาเอกซเรย์และตรวจเสมหะตามกำหนดนัดของแพทย์
นอกจากการรับประทานยาแล้ว คนไข้ควรรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ โดยเฉพาะเนื้อสัตว์ ไข่ นม ผลไม้ งดสิ่งเสพติดทุกชนิดและมาพบแพทย์ตามนัดหมายทุกครั้ง หรือเมื่อมีอาการผิดปกติ เช่น มีอาการผื่นคัน ตัวเหลือง ตาเหลือง (ซึ่งอาจเกิดเนื่องจากยาที่รับประทานอยู่)
คนไข้ควรระมัดระวังการแพร่เชื้อไปสู่ผู้อื่น เช่น การใช้ช้อนกลางในการรับประทานอาหาร ไอหรือจามใช้ผ้าเช็ดหน้าปิดปาก
รักษาสุขภาพให้แข็งแรง ออกกำลังกายสม่ำเสมอ ทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ อาจจะตรวจร่างกายโดยการเอกซเรย์ปอดอย่างน้อยปีละครั้ง ถ้าพบว่าเป็นจะได้รักษาก่อนที่โรคจะลุกลาม
หนังสือพิมพ์สยามรัฐ
แหล่งที่มาดั้งเดิม: ${vars.title} แบ่งปันกับ ใบอนุญาต Creative Commons Attribution-ShareAlike 3.0
Ne Demek sitesindeki bilgiler kullanıcılar vasıtasıyla veya otomatik oluşturulmuştur. Buradaki bilgilerin doğru olduğu garanti edilmez. Düzeltilmesi gereken bilgi olduğunu düşünüyorsanız bizimle iletişime geçiniz. Her türlü görüş, destek ve önerileriniz için iletisim@nedemek.page