การบำรุงรักษาเน้นความเชื่อถือได้ () เป็นกระบวนการที่กำหนดว่าต้องทำอะไรบ้างจึงจะมั่นใจได้ว่าสินทรัพย์ (อุปกรณ์ หรือ ระบบ หรือ เครื่องจักร หรือ ยุทโธปกรณ์) จะสามารถทำงานภายใต้สภาวะแวดล้อมหรือบริบทที่ใช้งานในปัจจุบัน ถ้าหากทำการบำรุงรักษาเน้นความเชื่อถือได้อย่างถูกต้องแล้วจะทำให้สามารถยกระดับความเชื่อถือได้ของสินทรัพย์ รวมทั้งความพร้อมใช้และที่สำคัญค่าใช้จ่ายในงานบำรุงรักษาจะมีประสิทธิภาพสูง นอกจากนี้ยังสามารถช่วยให้องค์กรมีความเข้าใจถึงความเสี่ยงจากการใช้งานสินทรัพย์และสามารถช่วยให้องค์กรสามารถกำหนดกลยุทธ์ที่จะนำมาใช้เพื่อที่จะจัดการกับความเสี่ยงได้อย่างมีประสิทธิภาพ
การบำรุงรักษาเน้นความเชื่อถือได้ช่วยให้องค์กรสามารถประสบความสำเร็จในการกำหนดแผนงานบำรุงรักษาที่น้อยที่สุดแต่มีความปลอดภัยสูงในการใช้งานสินทรัพย์ ซึ่งเป็นคำที่ มร. จอห์น มัวเบรย์ ได้กล่าวไว้ในหนังสือของเขาซึ่งสอดคล้องกับคำกล่าวของ มร. สแตนเลย์ โนวแลน และ มร. โฮเวิร์ด ฮีพ จากสายการบินยูไนเต็ดแอร์ไลน์ มาตรฐาน SAE JA1011 เกณฑ์การประเมินกระบวนการบำรุงรักษาเน้นความเชื่อถือได้กำหนดเกณฑ์การประเมินขั้นต่ำสุดที่ใช้ในการประเมินว่ากระบวนการใดสามารถเรียกว่าการบำรุงรักษาเน้นความเชื่อถือได้ ซึ่งจะประกอบไปด้วยคำถามหลักเจ็ดข้อด้วยกันดังต่อไปนี้
การบำรุงรักษาเน้นความเชื่อถือได้เป็นกรอบการทำงานทางวิศวกรรมที่จะนำมาใช้ช่วยในการกำหนดแผนการบำรุงรักษาสินทรัพย์ที่มีประสิทธิภาพ โดยที่การบำรุงรักษาจะเริ่มจากการกำหนดหน้าที่ของสินทรัพย์ตามความต้องการของผู้ใช้งานสินทรัพย์ภายใต้สภาวะแวดล้อมในการใช้งาน กระบวนการที่สองจะเป็นการกำหนดการล้มเหลวของหน้าที่ กระบวนการที่สามจะกำหนดรูปแบบความเสียหาย กระบวนการที่สี่จะเป็นการกำหนดผลของความเสียหาย ข้อมูลที่ได้จากกระบวนการที่หนึ่งถึงกระบวนการที่สี่จะถูกบันทึกไว้ในตารางข้อมูลการบำรุงรักษาเน้นความเชื่อถือได้ กระบวนการที่ห้าจะเป็นการประเมินผลพวงความเสียหายที่เกิดขึ้น กระบวนการที่หกจะเป็นการกำหนดการทำงานเชิงรุก กระบวนการที่เจ็ดซึ่งเป็นกระบวนการสุดท้ายจะเป็นการกำหนดการทำงานเพิกเฉย ในกระบวนการที่ห้าถึงกระบวนการสุดท้ายจะมีการใช้แผนผังการตัดสินใจการบำรุงรักษาเน้นความเชื่อถือได้ โดยข้อมูลที่ได้จากกระบวนการที่ห้าถึงกระบวนการสุดท้ายจะถูกบันทึกไว้ในตารางการตัดสินใจการบำรุงรักษาเน้นความเชื่อถือได้ หลังจากนั้นจะเป็นขั้นตอนการรวบรวมกลุ่มงานที่ทำเพียงครั้งเดียวและงานบำรุงรักษา ขั้นตอนสุดท้ายจะเป็นการนำแผนงานที่ได้ไปปฏิบัติ ควรจัดให้มีการทบทวนการบำรุงรักษาเน้นความเชื่อถือได้ตามระยะเวลาที่เหมาะสมกับองค์กรเพื่อยกระดับความสมบูรณ์ของกระบวนการการบำรุงรักษาเน้นความเชื่อถือได้
คำว่า "การบำรุงรักษาเน้นความเชื่อถือได้" ได้เกิดขึ้นครั้งแ���กในปีพ.ศ. 2521
จากการเผยแพร่หนังสือ การบำรุงรักษาเน้นความเชื่อถือได้ โดย สายการบินยูไนเต็ดแอร์ไลน์
ซึ่งกระทรวงกลาโหมของสหรัฐอเมริกาเป็นผู้อุปถัมภ์ในการเขียนหนังสือเล่มนี้ขึ้นมา
หนังสือเล่มนี้เขียนโดย มร. สแตนเลย์ โนวแลน และ มร. โฮเวิร์ด ฮีพ
หนังสือเล่มนี้ได้อธิบายถึงกระบวนการปรับปรุงความเชื่อถือได้ของเครื่องบินโบอิ้ง 747
โดยสายการบินพาณิชย์
ในยุคแรกของเครื่องบินโดยสารแบบเจ็ทได้ประสบปัญหาอัตราการตกที่สูงมาทำให้องค์การบริหารการบินของสหรัฐหรือที่เรียกชื่อย่อว่า
FAA และสายการบินมีความพยายามและหาวิธีการที่จะจัดการปัญหาเหล่านี้ ตอนต้นปี พ.ศ. 2500
FAA และสายการบินได้ทำการศึกษาและวิจัยทางวิศวกรรมสำหรับการเสียหายของเครื่องบิน
จากการศึกษาวิจัยพบว่าความเชื่อของนักออกแบบ และผู้บำรุงรักษา
มีความเชื่อว่า*"ทุกชิ้นส่วนของเครื่องบินมีอายุการใช้งาน"*
ทำให้แผนการบำรุงรักษาเครื่องบินในยุคนั้นได้กำหนดเวลาในการโอเวอร์ฮอลหรือเปลี่ยนชิ้นส่วนของเครื่องบินเกือบทั้งหมด
แต่ผลที่ได้จากการศึกษาวิจัยกลับพบว่า
"ความเสียหายของเครื่องบินเกือบทั้งหมดนั้นไม่มีความเกี่ยวข้องกับอายุ"
หลังจากนั้นได้มีการจัดตั้งคณะทำงานขึ้นมาเพื่อกำหนดแผนการบำรุงรักษาเครื่องบินจนกระทั่งประสบความสำเร็จด้วยหลักการของการบำรุงรักษาเน้นความเชื่อถือได้
ทำให้สามารถลดอัตราการตกของเครื่องบินได้ถึง 20 เท่า
การบำรุงรักษาเน้นความเชื่อถือได้ได้ยกระดับความคิดในการบำรุงรักษาสินทรัพย์ดังต่อไปนี้
แต่อย่างไรก็ตามมีผู้ให้บริการบางรายได้คิดหาวิธีการรวบรัดในการทำการบำรุงรักษาเน้นความเชื่อถือได้แต่ไม่ได้คำนึงถึงประสิทธิภาพและผลลัพธ์ที่ได้จากการนำไปใช้ การบำรุงรักษาเน้นความเชื่อถือได้แบบรวบรัด (streamlined reliability centered maintenance) โดยส่วนใหญ่ไม่ผ่านเกณฑ์การประเมินของ SAE JA1011 ดังนั้นกระบวนการบำรุงรักษาเน้นความเชื่อถือได้แบบรวบรัดไม่ใช่กระบวนการบำรุงรักษาเน้นความเชื่อถือได้แต่อย่างใด
หลังจากที่อุตสาหกรรมมการบินพาณิชย์ประสบความสำเร็จในการลดอัตราการตกของเครื่องบินจากการทำการบำรุง���ักษาเน้นความเชื่อถือได้ ก็ได้นำการบำรุงรักษาเน้นความเชื่อถือได้มาใช้ตั้งแต่ขั้นตอนการออกแบบเครื่องบินรุ่นใหม่จนถึงทุกวันนี้ทำให้เราสามารถเดินทางด้วยเครื่องบินโดยสารได้อย่างปลอดภัย
ประมาณ พ.ศ. 2520 กระทรวงกลาโหมของสหรัฐอเมริกาได้นำการบำรุงรักษาเน้นความเชื่อถือได้ไปใช้กับกองทัพเรือ กองทัพบกและกองทัพอากาศ ในปี พ.ศ. 2542 กองทัพประเทศอังกฤษได้นำมาตรฐานการบำรุงรักษาเน้นความเชื่อถือได้มาใช้ในการบำรุงรักษายุทโธปกรณ์ของประเทศอังกฤษ ทำให้ประหยัดงบประมาณได้อย่างมากมายและยังช่วยเพิ่มความถือได้และเพิ่มความพร้อมใช้งานอีกด้วย แต่ประเทศไทยยังไม่มีมาตรฐานการบำรุงรักษาสำหรับยุทโธปกรณ์ของกองทัพ
ประมาณ พ.ศ. 2525 โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ก็นำการบำรุงรักษาเน้นความเชื่อถือได้ไปใช้ หลังนั้นอุตสาหกรรมการผลิตและบริการก็ได้นำการบำรุงรักษาเน้นความเชื่อถือได้ไปใช้เหมือนกัน เช่น โรงไฟฟ้า โรงเหล็ก โรงกลั่นน้ำมัน โรงงานเคมี โรงงานกระดาษ เหมืองแร่ โรงประปา รถไฟ รถไฟฟ้าใต้ดิน ทำให้การบำรุงรักษาเน้นความเชื่อถือได้ได้รับความนิยมอย่างมากมาย
ประมาณปี 2535 หน่วยงานบริหารความปลอดภัยและอาชีวอนามัยของประเทศสหรัฐอเมริกา (Occupational Safety and Health Administration : OSHA)ได้ออกกฎหมาย "การจัดการความปลอดภัยกระบวนการผลิต" (Process Safety Management: PSM) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้ในการควบคุมความปลอดภัยและป้องกันการเกิดเหตุร้ายแรงจากโรงงานที่มีสารเคมีอันตราย (ระเบิด ไฟไหม้ แก๊สพิษรั่ว) การบำรุงรักษาเน้นความเชื่อถือได้เป็นมาตรฐานการบำรุงรักษาที่ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางในการนำมาใช้เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์นี้ อย่างไรก็ตามโรงงานที่มีสารเคมีอันตรายในประเทศไทยยังไม่ได้นำการบำรุงรักษาเน้นความเชื่อถือได้มาใช้
ถ้าหากทำการบำรุงรักษาเน้นความเชื่อถือได้ถูกต้องตามมาตรฐานSAE JA1011แล้ว องค์กรที่อยู่ในอุตสาหกรรมการผลิตหรือบริการ หรือ หน่วยงานรัฐวิสาหกิจ หรือ หน่วยงานราชการ หรือ หน่วยงานความมั่นคงก็จะได้รับประโยชน์จากการทำการบำรุงรักษาเน้นความเชื่อถือได้ดังนี้
John Moubray, Reliability-Centered Maintenance, Industrial Press, New York, 1997, ISBN 978-0831131463
MSG-3, Maintenance Program Development Document, Air Transport Association, Washington D.C., Revision 2, 1993.
สุภนิติ แสงธรรม, การบำรุงรักษาเน้นความเชื่อถือได้ (Reliability Centered Maintenance), RCM THAI, เอ็มแอนด์อี, 2560, ISBN 978-974-686-131-1
แหล่งที่มาดั้งเดิม: ${vars.title} แบ่งปันกับ ใบอนุญาต Creative Commons Attribution-ShareAlike 3.0
Ne Demek sitesindeki bilgiler kullanıcılar vasıtasıyla veya otomatik oluşturulmuştur. Buradaki bilgilerin doğru olduğu garanti edilmez. Düzeltilmesi gereken bilgi olduğunu düşünüyorsanız bizimle iletişime geçiniz. Her türlü görüş, destek ve önerileriniz için iletisim@nedemek.page