ดัชนีเศรษฐกิจ คืออะไร

ดัชนีเศรษฐกิจ

วัตถุประสงค์

เพื่อใช้เป็นสัญญาณเตือนภัยล่วงหน้าทำให้เรารู้ว่าภาวะเศรษฐกิจรวมของประเทศในปัจจุบันและอนาคตจะเป็นอย่างไร ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการวางแผนและการกำหนดนโยบายทางเศรษฐกิจของภาครัฐและเอกชนได้อย่างถูกต้อง

ดัชนีเศรษฐกิจ แบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ ดัชนีวัฏจักรเศรษฐกิจ และดัชนีคาดการณ์ภาวะเศรษฐกิจ

ดัชนีวัฏจักรเศรษฐกิจ Business Cycle Index (BCI)

เป็นดัชนี ที่แสดงคลื่นภาวะเศรษฐกิจโดยรวมที่มีการผกผันขึ้นลงในลักษณะเป็นวัฏจักร ทั้งนี้ คลื่นภาวะเศรษฐกิจในวงจรหนึ่งประกอบด้วย จุดต่ำสุด ช่วงขยายตัว จุดสูงสุด และช่วงหดตัว การจัดทำดัชนีวัฏจักเศรษฐกิจ คำนวณขึ้นจากตัวแปรที่สำคัญ ๆ ทางเศรษฐกิจในแต่ละเดือน ทำให้มองเห็นภาพรวมของวัฏจักรเษรษฐกิจในแต่ละช่วงเวลา เพื่อใช้แสดงทิศทางของภาวะเศรษฐกิจ และภาวะเงินเฟ้อโดยรวมของประเทศว่ามีจุดต่ำสุด จุดสูงสุด เมื่อใด ขณะนี้เป็นช่วงที่เศรษฐกิจขยายตัว หรือชะลอตัว ประกอบด้วย

ดัชนีพ้องวัฏจักรธุรกิจ (Coincident Index)

เป็นดัชนีที่แสดงทิศทางเศรษฐกิจปัจจุบัน โดยมีคลื่นวัฏจักรสอดคล้องกับระยะเวลา การเปลี่ยนแปลงของภาวะเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นจริง ประกอบด้วยตัวแปร 9 ตัว คือ

  1. ปริมาณการผลิตยานพาหนะเพื่อการพาณิชย์
  2. ปริมาณการผลิตปูนซีเมนต์
  3. ปริมาณการผลิตเบียร์
  4. ปริมาณการผลิตรถจักรยานยนต์
  5. ดัชนียอดขายปลีก
  6. ยอดจำหน่ายรถยนต์ในประเทศ
  7. ภาษีการค้า ภาษีมูลค่าเพิ่ม และภาษีธุรกิจเฉพาะ
  8. มูลค่าการนำเข้า
  9. ภาษีศุลกากร

ดัชนีชี้นำวัฏจักรธุรกิจระยะสั้น (Short Leading Index)

เป็นดัชนีที่มีทิศทางการเปลี่ยนแปลงก่อนที่ภาวะเศรษฐกิจจริงจะเกิดขึ้นใช้คาดการณ์ทิศทางของเศรษฐกิจล่วงหน้า 3-5 เดือน ประกอบด้วยตัวแปร 6 ตัว คือ

  1. ปริมาณเงินตามความหมายแคบ
  2. ดัชนีราคาหุ้น
  3. พื้นที่ก่อสร้างได้รับอนุญาตในเขตกรุงเทพมหานคร
  4. มูลค่าทุนจดทะเบียนธุรกิจรายใหม่
  5. มูลค่าการส่งออก
  6. จำนวนนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศ

ดัชนีชี้นำวัฏจักรธุรกิจระยะกลาง (Medium-run Leading Index)

เป็นดัชนีที่มีทิศทางการเปลี่ยนแปลก่อนที่ภาวะเศรษฐกิจจริงจะเกิดขึ้น ใช้คาดการณ์ทิศทางของเศรษฐกิจล่วงหน้า 9-11 เดือน ประกอบด้วยตัวแปร 7 ตัว คือ

  1. อัตราการขยายตัวของดัชนีราคาสินค้าวัตถุดิบอุตสาหกรรมโลก
  2. ดัชนีชี้นำวัฏจักรธุรกิจสหรัฐอเมริกา
  3. ส่วนกลับของดัชนีชี้นำวัฏจักรธุรกิจญี่ปุ่น
  4. อัตราการขยายตัวของปริมาณเงินตามความหมายกว้าง
  5. มูลค่าทุนจดทะเบียนธุรกิจรายใหม่
  6. พื้นที่ก่อสร้างได้รับอนุญาตในเขตกรุงเทพมหานคร
  7. ส่วนกลับของอัตราดอกเบี้ยระหว่างธนาคารโดยเฉลี่ย

ดัชนีวัฏจักรเงินเฟ้อ (Inflation Index)

เป็นดัชนีที่จัดทำขึ้นเพื่อใช้ในการเตือนล่วงหน้าถึงความเสี่ยงทางด้านระดับราคา แยกเป็น 2 ดัชนี คือ ดัชนีอ้างอิงวัฏจักรเงินเฟ้อ (Reference Inflation Index) คำนวณขึ้นจากอัตราการขยายตัวของดัชนีราคาผู้บริโภค (ปี 2545 = 100) ดัชนีชี้นำวัฏจักรเงินเฟ้อ (Leading Inflation Index) เป็นดัชนีที่มีทิศทางการเปลี่ยนแปลงก่อนวัฏจักรเงินเฟ้อ ใช้คาดการณ์ทิศทางภาวะเงินเฟ้อล่วงหน้า 7-9 เดือน ประกอบด้วยตัวแปร 7 ตัว คือ

  1. อัตราการขยายตัวของดัชนีราคาสินค้าวัตถุดิบอุตสาหกรรมโลก
  2. อัตราการขยายตัวของดัชนีราคาน้ำมันโลก
  3. ส่วนกลับของดัชนี Terms of Trade
  4. อัตราการขยายตัวของปริมาณเงินตามความหมายกว้าง
  5. อัตราการขยายตัวของอัตราการใช้กำลังการผลิต
  6. อัตราการขยายตัวของดัชนีราคาสินค้านำเข้า
  7. อัตราการขยายตัวของสิทธิเรียกร้องในประเทศ

ดัชนีคาดการณ์ภาวะเศรษฐกิจ Economic Expectation Index (EEI)

เป็นดัชนีที่แสดงทิศทางภาวะเศ���ษฐกิจในรูปของดัชนีการกระจาย (Diffusion Index) ได้จากการสอบถามความคิดเห็นของผุ้ประกอบธุรกิจ ผู้ส่งอก และผู้บริโภค แสดงถึงความเชื่อมั่นต่อภาวะเศรษฐกิจในแต่ละช่วงเวลา (ดี/เพิ่มขึ้น ไม่เปลี่ยนแปลง หรือแย่/ลดลง) แยกเป็น

ดัชนีคาดการณ์ภาวะธุรกิจ (Business Expectation Index)

เป็นดัชนีที่จัดทำขึ้นจากการสอบถามความคิดเห็นของนักธุรกิจทั่วประเทศ ต่อภาวะธุรกิจในปัจจุบัน และคาดการณ์ในระยะ 3 เดือนข้างหน้า โดยสำรวจเป็นรายไตรมาสจากนักธุรกิจ 6 สาขา คือ เกษตรกรรม อุตสาหกรรม พาณิชยกรรม ก่อสร้าง การเงินและบริการ เพื่อใช้เป็นข้อมูลเตือนภัยล่วงหน้าทางเศรษฐกิจ ทั้งนี้ข้อมูลดังกล่าวนำมาใช้เป็นข้อมุลทดสอบทิศทางจุดวกกลับของดัชนีวัฏจักรเศรษฐกิจ

ดัชนีภาวะธุรกิจส่งออก (Export Business Situation Index)

เป็นดัชนีที่ได้จากการสอบถามความคิดเห็นของผุ้ส่งออกเกี่ยวกับภาวการณ์ส่งออกของประเทศ ในแต่ละเดือน ทั้งมูลค่าและปริมาณการส่งออก คำสั่งซื้อใหม่จากต่างประเทศ สินค้าคงคลัง และการจ้างงาน ในสินค้าส่งออก 4 ประเภท คือ สินค้าเกษตรกรรม สินค้าอุตสาหกรรม การเกษตร และสินค้าแร่และเชื้อเพลิง นอกจากนี้ ได้จัดทำเป็นดัชนีรายไตรมาส คือ ดัชนีคาดการณ์ภาวะธุรกิจการส่งออก (Export Expectation Index) และดัชนีคาดการณ์ความสามารถในการแข่งขัน (Competitive Advantage Expectation Index) เพื่อคาดการณ์ทิศทางการส่งออกและความสามารถในการแข่งขันของผู้ส่งออกในอนาคต ติดตามภาวะการส่งออกของประเทศสำหรับเตือนภัยล่วงหน้าด้านการส่งออก ดัชนีการเชื่อมั่นผู้บริโภค (Consumer Confidence Index) เป็นดัชนีรายเดือนที่ได้จากการสอบถามความรู้สึกของผู้บริโภค 7 กลุ่มอาชีพ ได้แก่ นักธุรกิจ พนักงานเอกชน ผู้รับจ้าง ข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ เกษตรกร นักเรียนนักศึกษา และผู้ไม่มีงานทำ ที่มีต่อภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน และในอนาคต 3-6 เดือนข้างหน้า ในเรื่องภาวะเศรษฐกิจทั่วไป การใช้จ่าย รายได้ โอกาสหางานทำและการใช้จ่ายอุปโภคบริโภค เป็นข้อมูลที่สะท้อนความรู้สึกหรือความเชื่อมั่นต่อภาวะเศรษฐกิจของประชาชนในแต่ละช่วงเวลา ซึ่งใช้เป็นเครื่องชี้ภาวการณ์บริโภคของประเทศโดยรวม ทั้งนี้ถ้าผู้บริโภคส่วนใหญ่มีความรู้สึกเชื่อมั่นต่อภาวะเศรษฐกิจ จะส่งผลดีต่อระบบเศรษฐกิจ จะส่งผลดีต่อระบบเศรษฐกิจโดยรวม แต่ถ้าผู้บริโภคส่วนใหญ่ไม่เชื่อมั่นต่อภาวะเศรษฐกิจ จะสะท้อนในรูปของการใช้จ่ายที่ลดลงหรือเป็นไปอย่างระมัดระวัง ซึ่งอาจจะส่งผลต่อระบบเศรษฐกิจให้ชะลอตัวลง

การนำไปใช้ประโยชน์

ดัชนีวัฏจักรเศรษฐกิจ

เป็นข้อมูลสะท้อนภาวะเศรษฐกิจในแต่ละช่วงเวลา ที่แสดงให้เห็นจุดสูงสุดและต่ำสุดของวัฏจักรในแต่ละรอบ ทั้งนี้ให้ดูอัตราการขยายตัวของดัชนี (six-month smoothed annualized growth rate) ของดัชนีฯ ถ้ามีค่าเป็นบวก มีความหมายว่า เศรษฐกิจขยายตัว แต่ถ้าอัตราการขยายตัวของดัชนีเป็นลบอย่างต่อเนื่องมีความหมายว่าเศรษฐกิจชะลอตัว

ดัชนีคาดการณ์ภาวะธุรกิจ

เป็นดัชนีการกระจาย (Diffusion Index) ซึ่งแสดงทิศทางของภาวะธุรกิจ (ดีขึ้น ไม่เปลี่ยนแปลง หรือเลวลง) ดัชนีจะมีค่าสูงสุดเท่ากับ 100 และต่ำสุด เท่ากับ 0 การอ่านค่าดัชนี ใช้ เส้นกึ่งกลาง หรือค่า 50 เป็นเกณฑ์ กล่าวคือ

  • ถ้าดัชนีอยู่เหนือเส้น 50 แสดงว่า มีความเชื่อมั่นต่อภาวะเศรษฐกิจดี
  • ถ้าดัชนีอยู่ที่เส้น 50 แสดงว่า มีความเชื่อมั่นต่อภาวะเศรษฐกิจคงที่ หรือเท่าเดิม
  • ถ้าดัชนีอยู่ใต้เส้น 50 แสดงว่า ไม่มีความเชื่อมั่นต่อภาวะเศรษฐกิจ

ตัวอย่างเช่น

  • ดัชนีคาดการณ์ภาวะธุรกิจส่งออกมีค่าเหนือเส้น 50 แสดงว่า ผู้ส่งออกมองว่าธุรกิจการส่งออกยังไปได้ด�� หรือมีการขยายตัว
  • ดัชนีคาดการณ์ภาวะธุรกิจมีค่าอยู่ที่ 50 แสดงว่า นักธุรกิจมีความเชื่อมั่นต่อภาวะเศรษฐกิจของประเทศเท่าเดิม ไม่เปลี่ยนแปลง
  • ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค มีค่าต่ำกว่า 50 แสดงว่า ผู้บริโภคไม่มีความเชื่อมั่นต่อภาวะเศรษฐกิจ

แหล่งที่มาดั้งเดิม: ${vars.title} แบ่งปันกับ ใบอนุญาต Creative Commons Attribution-ShareAlike 3.0

หมวดหมู่