ภาษาไทยบ้าบ๋าภูเก็ต คืออะไร
คำศัพท์
ศัพท์ในภาษาจีนบ้าบ๋าอันดามัน เป็นศัพท์ที่ใช้ในกลุ่มชาติพันธุ์จีนถิ่นฮกเกี้ยน (峇峇娘惹; Baba
Nyonya*; บ้าบ๋าญ่อญ่ะ (ยะหยา))
ที่ตั้งรกรากอยู่ตลอดคาบสมุทรมลายูฝั่งตะวันตกด้านทะเลอันดามันตั้งแต่ ระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่
ตรัง สตูล เรื่อยไปยังรัฐปะลิส ปีนัง มะละกาตราบถึงสิงคโปร์
วัฒนธรรมภาษาของบ้าบ๋ามีภาษาถิ่นฮกเกี้ยนเป็นศูนย์กลางตามจำนวนประชากรและบทบาทด้านเศรษฐกิจที่มีมาก
ทั้งแลกเปลี่ยนนำคำมลายู อังกฤษเข้ามาใช้ร่วม
ขณะเดียวกันก็ส่งอิทธิพลถึงวิธีสื่อสารของชาติพันธุ์จีนภาษาถิ่นอื่นต้องซึมซับศัพท์ในภาษาจีนบ้าบ๋าเข้ามาในวิถีชีวิตและครอบครัวเพื่อสามารถเข้ากับชนกลุ่มใหญ่ได้
หรือชาวสยามชาวมลายูร่วมท้องถิ่นที่ติดสรรพนามเรียกขานอย่างบ้าบ๋า เช่น อาจี้(พี่สาว)
อาโก้(พี่ชาย)
ปัจจุบันมีความเข้าใจว่าศัพท์ในภาษาจีนบ้าบ๋าอันดามัน
เป็นศัพท์เฉพาะในสังคมภูเก็ตด้วยภูเก็ตเป็นสถานีการค้านานาชาติมีเศรษฐกิจรุดหน้าโดดเด่นก่อนถิ่นอื่นบนฝั่งอันดามัน
หากในวงกว้างศัพท์ภาษาจีนบ้าบ๋าเป็นวิธีสื่อสารร่วมกันของประชาคมจีนโพ้นทะเล สยาม
มลายูตลอดทั้งฝั่งอันดามัน หมายความว่าศัพท์เหล่านี้ชาติพันธุ์จีนถิ่นฮกเกี้ยนทั้งบนฝั่งอันดามัน
ในมาเลเซีย ในสิงคโปร์ต่างสื่อสารเข้าใจตรงกันจะต่างบ้างที่สำเนียงหนักเบา
- "ny"; Nyonya เสียงนาสิก (ขึ้นจมูก) จึงแสดงเสียงด้วย "ญ"; ญ่อญ่ะ มิใช่ ย่อนย่า
- คำสรรพนาม
ภาษาจีนบ้าบ๋า | อักษรจีน | ภาษามาลายู | ความหมาย |
---|
หว้า | 我 | | ฉัน |
ลู่ | 汝 | | เธอ |
อี | 伊 | | เขา |
หว้าหลัง | 我儂 | | พวกฉัน |
ลู่หลัง | 汝儂 | | พวกเธอ |
อีหลัง | 伊儂 | | พวกเขา |
จาบ้ออี | 查某伊 | | เขา(ผู้หญิง) |
จาป่อ/ตาป๋ออี | 查埔伊 | | เขา(ผู้ชาย) |
- คำเรียกญาติ
ภาษาจีนบ้าบ๋า | อักษรจีน | ภาษามาลายู | ความหมาย |
---|
อาก๊อ | 阿姑 | | น้องสาวของพ่อ |
อาจ้อ | 阿祖 | | ทวด |
หล่ายก้อง | 內公 | | ปู่ |
หวั่นก้อง | 外公 | | ตา |
อากิ่ม | 阿妗 | | ป้าสะใภ้, น้าสะใภ้ |
อากู่ | 阿舅 | | น้องชายของแม่ |
เกี๊ยซู้น | 囝孫 | | ลูกหลาน |
อาโก๊ | 阿哥 | | พี่ชาย |
อาเฮีย | 阿兄 | | พี่ชาย (สุภาพ) (สำเนียงมะละกา, สิงคโปร์) |
เข็วเกี้ย | 契囝 | | ลูกเลี้ยง |
จ่าบ๊อเกี้ย | 查某囝 | | ลูกสาว |
จ่าป้อเกี้ย | 查埔囝 | | ลูกชาย |
อาจิ้ม | 阿嬸 | | อาสะใภ้ |
อาเจก | 阿叔 | | อา น้องชายของพ่อ |
เจ้กก้อง | 叔公 | | น้องชายของปู่ |
ซิมปู่ | 新婦 | | ลูกสะใภ้ |
ตัวกิ่ม | 大妗 | | ป้าสะใภ้คนโตฝ่ายแม่ |
ตัวกู่ | 大舅 | | ลุงคนโตฝ่ายแม่ |
ตัวโก้ | 大哥 | | พี่ชายคนโต |
ตัวจี้ | 大姊 | | พี่สาวคนโต |
อาจี้ | 阿姊 | | พี่สาว |
อาเจ้ | 阿姊 | | พี่สาว(สุภาพ) (สำเนียงมะละกา, สิงคโปร์) |
ตัวเตี่ยว | 大丈 | | สามีของพี่สาวคนโตฝ่ายแม่ |
ตัวบ้อ | 大某 | | ภรรยาหลาน |
ตัวแปะ | 大伯 | | พี่ชายของพ่อ |
ตัวอี๋ | 大姨 | | พี่สาวของแม่ |
ตัวอึ้ม | 大姆 | | ป้าสะใภ้ฝ่ายพ่อ |
ติ่วหลาง | 丈儂 | | พ่อตา |
ติ่วอิ้ม | 丈姆 | | แม่ยาย |
อาเตี้ย | 阿爹 | | พ่อ |
อาเตี่ยว | 阿丈 | | น้าเขย หรือ ลุงเขย |
อี๋เตี่ยว | 姨丈 | | สามีของน้องสาวหรือพี่สาวของแม่ |
ก๊อเตี่ยว | 姑丈 | | สามีของน้องสาวหรือพี่สาวของพ่อ |
อาบ้อ | 阿某 | | ภรรยา |
อาแปะ | 阿伯 | | พี่ชายพ่อ |
เสบ้อ | 細某 | | ภรรยาน้อย |
เส้วตี่ | 小弟 | | น้องชายคนเล็ก |
เส้วหม่อย | 小妹 | | น้องสาวคนเล็ก |
อาโส้ | 阿嫂 | | พี่สะใภ้ |
หล่าวเป่หล่าวโบ้ | 老父老母 | | พ่อแม่ |
อาม่า | 阿媽 | | ย่าหรือยาย |
อามะ | | emak | แม่ |
อาอี๋ | 阿姨 | | น้าสาว |
อาอ้าง | 阿翁 | | สามี |
อาอึ้ม | 阿姆 | | ป้าสะใภ้ |
อาป๋า | 阿爸 | | พ่อ |
ก๊อโป๋ | 姑婆 | | ป้าหรืออาผู้หญิงของพ่อ |
อี๋โป๋ | 姨婆 | | ป้าหรือน้าสาวของแม่ |
อึ้มโป๋ | 姆婆 | | ป้าสะใภ้ของพ่อ |
จิ้มโป๋ | 嬸婆 | | อาสะใภ้ของพ่อ |
กิ่มโป๋ | 妗婆 | | ป้าหรือน้าสะใภ้ของแม่ |
กู้ก้อง | 舅公 | | ลุงหรือน้าผู้ชายของแม่ |
ตัวก๊อ | 大姑 | | พี่สาวคนโตของพ่อ |
ตัวอี๋ | 大姨 | | พี่สาวคนโตของแม่ |
ตัวกู้ | 大舅 | | พี่ชายคนโตของแม่ |
เฮียตีจี้หม่อย | 兄弟姊妹 | | พี่น้อง |
- คำเรียกบุคล และ อาชีพ
ภาษาจีนบ้าบ๋า | อักษรจีน | ภาษามาลายู | ความหมาย |
---|
หยี่ฉิ้ว | 二手 | | รองหัวหน้า |
หลังจู้ | 儂主 | | ผู้จัดการ |
หลั่งแขะ | 儂客 | | คนโดยสาร |
หงิ้นน่า | 囡仔 | | เด็ก |
หนี่ก้อ | 尼姑 | | แม่ชี |
หล่าวหลาง | 老儂 | | คนแก่ |
ห้ายหลางอ้า | 海儂仔 | | ชาวเล |
ห่าวเต้ง | 校丁 | | ภารโรง |
ห่าวเตี้ยว | 校長 | | อาจารย์ใหญ่ |
ลั้งแค๊ะ | 儂客 | | ผู้โดยสาร |
เปงอิ่ว | 朋友 | | เพื่อน |
โต้ยเชี่ย | 綴車 | | คนขับสองแถว |
อาโป๋ | 阿婆 | | หญิงชรา |
ถ่าวเก้เหนียว | 頭家娘 | | ภรรยาเศรษฐี |
ถ่าวเก้ | 頭家 | | เศรษฐี, ผู้มั่งคั่ง, นายห้าง |
กะลา | | Benggala | แขกขายผ้า |
จ่าบ๊อก้าง | 查某𡢃 | | สาวใช้ |
จ่าป่อก้าง | 查埔𡢃 | | คนใช้ผู้ชาย |
โล้กุน | | dukun | หมอ |
กุหลี่ | | kuli | กรรมกร |
กังหลัง | 工儂 | | กรรมกร |
อังหม้อ | 紅毛 | | ชาวต่างชาติผิวขาว(ฝรั่ง) |
เอหลัง | 矮儂 | | คนแคระ |
กงหลัง | 戇儂 | | คนโง่ |
เหยินต่าว | 緣投 | | ผู้ชายหล่อ |
จิ่นสุ่ย | 真媠 | | ผู้หญิงสวย |
- คำเรียกสถานที่
ภาษาจีนบ้าบ๋า | อักษรจีน | ภาษามาลายู | ความหมาย |
---|
บั่นซ้าน | | bangsal(pasar) | ตลาดสด |
โล้ว | 路 | | ถนน |
อี่เส่งก้วน | 醫生館 | | โรงพยาบาล |
แคะจ่าน | 客棧 | | โรงแรม |
อ๊าม | 庵 | | ศาลเจ้า |
เตี่ยมฉู่ | 店厝 | | อาคารพาณิชย์ |
อังหม้อหล่าว | 紅毛樓 | | คฤหาส |
กิ่นฮัง | 銀行 | | ธนาคาร |
ตูปั๋ง | 廚房 | | ห้องครัว |
โกปี้เตี้ยม | 咖啡店 | | ร้านกาแฟ |
บี่เตี้ยม | 米店 | | ร้านขายข้าวสาร |
- ชื่อผลไม้
ภาษาถิ่นบาบ๋า | อักษรจีน | ภาษามลายู | ความหมาย |
---|
กินเจ๋ว | 弓蕉 | | กล้วยหอม |
บี่เจ๋ว | 米蕉 | | กล้วยข้าว |
เป๋งโก่ | 蘋果 | | แอปเบิ้ล |
ซีกั้ว | 西瓜 | | แตงโม |
ถ่อต่าว | 塗豆 | | ถั่วลิสง |
ถ่อเหลียน | | durian | ทุเรียน |
บกกั้ว | 木瓜 | | มะละกอ |
บ่าสี่กู้ | | buah ciku | ละมุด |
บ้างก้า | | nangka | ขนุน |
โป่โต๋ | 葡萄 | | องุ่น |
เยี้ยมบู่ | | jambu (air) | ชมพู่ |
หล่ายอ่า | 梨仔 | | สาลี่ |
อ่องหล่าย | 王梨 | | สับปะรด |
ยานัด | | nanas | สับปะรด |
ยามู่ | | jambu (batu) | ฝรั่ง |
หม่อต้าน | (紅)毛丹 | | เงาะ |
เหล้งเหง่ | 龍眼 | | ลำไย |
ไหล่จี้ | 荔枝 | | ลิ้นจี่ |
ก้าม | 柑 | | ส้ม |
เลบ้อง | 檸檬 | | มะนาว |
เอี่ยจี่ | 椰子 | | มะพร้าว |
ปินนัง | | pinang | หมาก |
อั้งโจ้ | 紅棗 | | พุทราจีน |
อิ่ว | 柚 | | ส้มโอ |
ภาษาถิ่นบาบ๋า | อักษรจีน | ภาษามลายู | ความหมาย |
---|
เจี๊ยะ | 食 | | กิน |
คุ่น | 睏 | | นอน |
จังเอ็ก | 灇浴 | | อาบน้ำ |
ก่อง | 講 | | พูด |
ชันชี | | janji | นัดหมาย |
ซูกะ | | suka | ชอบ |
โต่หลง | | tolong | กรุณา |
โต้หลง | | tolong | อนุเคราะห์ |
ตาเบ๊ะ | | tabik | ทำความเคารพ |
โฮ่เลี่ยว | 好了 | | ดีแล้ว |
อ้างอิง
แหล่งที่มาดั้งเดิม: แบ่งปันกับ ใบอนุญาต Creative Commons Attribution-ShareAlike 3.0
หมวดหมู่