มะเมื่อย คืออะไร

GNETOPSIDA

พืชกลุ่มนี้เป็นที่รู้จักกันน้อย มีลักษณะประจำกลุ่มคือ ใบเกิดตรงข้ามหรือรอบข้อ เมล็ดมีใบประดับรองรับและที่ปลายเมล็ดมีเปลือกชั้นในของเมล็ดยืดตัวยาวเป็นหลอดหรือเส้นเล็ก ๆ มีเพียง 3 วงศ์ ๆ ละ 1 สกุล ได้แก่ พวกมะเมื่อย (Gnetum spp.) พวกมั่วอึ๊ง (Ephedra spp.) และ Welwitschia bainesii (Hook.f.) Carr. สกุลหลังพบแห่งเดียวในทะเลทรายของอัฟริกาตอนใต้

วงศ์นีเทซีอี (Gnetaceae)

พืชวงศ์ มะเมื่อย พบเฉพาะในป่าดิบเขตร้อน ทั้งหมดมีจำนวน 30 ชนิด เกือบทุกชนิดเป็นไม้เลื้อย ในประเทศไทยมี 8 ชนิด เรียกทั่ว ๆ ไปว่า มะเมื่อย หรือเครือมะเมื่อย มะเมื่อยทุกชนิดมีใบเป็นใบเดี่ยวแผ่เป็นแผ่นกว้าง ผิวด้านบนใบมัน ใบออกตรงข้ามกัน บริเวณข้อของกิ่งพองออก เมล็ดเมื่อแก่จัดมีสีส้มอมแสด ใบอ่อนและเมล็ดเมื่อทำให้สุกใช้เป็นอาหารที่นิยมกันมากในประเทศอินโดนีเซีย

มะเมื่อยพบขึ้นที่ระดับความสูงประมาณ 500 เมตร เหนือระดับนํ้าทะเลขึ้นไป เป็นไม้เลื้อยขนาดค่อนข้างใหญ่ เมล็ดสุกในราวเดือนมิถุนายน

แหล่งที่มาดั้งเดิม: ${vars.title} แบ่งปันกับ ใบอนุญาต Creative Commons Attribution-ShareAlike 3.0