ความสำคัญของเดือนมุสลิม เดือนมุฮัรร็อมเป็นเดือนหนึ่งในบรรดาสี่เดือนที่ต้องห้าม (อัลอัชฮุรุลหุรุม) ดังพระกำหนดที่ถูกระบุในซูเราะตุตเตาบะฮฺ อายะฮฺที่ 36 ซึ่งมีใจความหมายว่า “แท้จริงจำนวนเดือน ณ อัลลอฮฺนั้นมีสิบสองเดือนในคัมภีร์ของอัลลอฮฺ ตั้งแต่วันที่พระองค์ทรงสร้างบรรดาชั้นฟ้าและแผ่นดิน จากเดือนเหล่านั้นมีสี่เดือนซึ่งเป็นเดือนที่ต้องห้าม...”
ซึ่งท่านนบีมุฮัมมัด ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้อธิบายว่า สี่เดือนที่ต้องห้ามนั้นคือ เดือนซุลกะอฺดะฮฺ ซุลฮิจญะฮฺ มุฮัรร็อม และรอญับมุฎ็อร โดยสามเดือนแรกเป็นสามเดือนต่อเนื่องกัน แต่เดือนรอยับที่ถูกแยกมาเป็นเดือนที่ต้องห้ามระหว่างเดือนญุมาดาอัลอาคิเราะฮฺกับเดือนชะอฺบาน เพราะในประวัติศาสตร์ของอาหรับก่อนยุคอิสลาม ชาวเผ่ารอบีอะตุบนุนิซารได้เรียกเดือนรอมฎอนว่าเดือนรอญับ และถือเป็นเดือนต้องห้ามแทนเดือนรอยับของเผ่ามุฎ็อร ซึ่งเดือนรอยับของมุฎ็อรเป็นการกำหนดที่ถูกต้องตามศาสนบัญญัติ จึงทำให้ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม เน้นในการกำหนดเดือนต้องห้ามว่าเป็นเดือนรอยับของมุฎ็อร ส่วนเดือนมุฮัรร็อมนั้นนอกจากเป็นเดือนต้องห้ามแล้ว ยังมีความประเสริฐอีกหลายประการดังต่อไปนี้
มูฮัรรอมในทัศนะของชีอะห์...
มุฮัรร็อม : เดือนต้องห้าม มุฮัรร็อม เป็นคำภาษาอาหรับที่ผันมาจากคำว่า "ฮะรอม" ที่แปลว่า ต้องห้าม
มุฮัรร็อม เป็นชื่อของเดือนที่หนึ่งตามปฏิทินอิสลาม เป็นหนึ่งในสี่เดือนที่อัลลอฮ์(ซ.บ.) ทรงประกาศไว้ในคัมภีร์อัล-กุรอาน ว่าเป็นเดือนต้องห้ามสำหรับการสู้รบ อีกสามเดือนนั้นคือ รอญับ, ซุล-เกาะดะฮ์ และซุล-ฮิจญะฮ์
"เดือนที่ต้องห้ามนั้น ก็ด้วยเดือนที่ต้องห้าม และบรรดาสิ่งจำเป็นต้องเคารพนั้น ก็ย่อมมีการตอบโต้เยี่ยงเดียวกัน ดังนั้นผู้ใดละเมิดต่อพวกเจ้า ก็จงละเมิดต่อเขาเยี่ยงที่เขาละเมิดต่อพวกเข้า และพึงยำเกรงอัลลอฮ์เถิด และจงรู้ไว้ด้วยว่าแท้จริงอัลลอฮ์นั้นทรงอยู่กับบรรดาผู้ยำเกรงทั้งหลาย" (อัล-กุรอาน 2/194)
ในโองการที่ 59 บทอัน-นิซาอฺ ของคัมภีร์อัล-กุรอาน อัลลอฮ(ซ.บ.) ทรงตรัสว่า
"ผู้ศรัทธาทั้งหลาย ! จงเชื่อฟังอัลลอฮ์ และเชื่อฟังศาสนทูตของอัลลอฮ์ และผู้มีอำนาจปกครองในหมู่พวกเจ้าเถิด..."
บรรดาผู้ศรัทธา จะเชื่อฟังอัลลอฮ์ เชื่อฟังศาสนทูตของพระองค์ และผู้มีอำนาจปกครองที่ได้รับการแต่งตั้งโดยพระองค์ แต่นี่คือคำสั่งที่เปิดกว้าง เพราะอีกโองการหนึ่งพระองค์ตรัสว่า "ไม่มีการบังคับใดในศาสนา(อิสลาม)..." (อัล-กุรอาน 2/256) บรรดาผู้ไม่ศรัทธาจึงสามารถทำสิ่งที่พวกเขาต้องการได้
อิมามอะลี(อ.) อิมามฮะซัน(อ.) และอิมามฮุเซน(อ.) ไม่เคยบีบบังคับให้ผู้ใดมาให้สัตยาบัน ยอมรับการเป็น "ผู้มีอำนาจปกครอง" ของพวกท่าน และไม่เคยให้การยอมรับใครว่าเป็นผู้มีอำนาจปกครองเหนือพวกท่านด้วยเช่นกัน
แต่เมื่อยะสีด บุตรของมุอาวียะฮ์ ขึ้นครองตำแหน่งเป็นผู้ปกครอง เขาต้องการบีบบังคับให้ลูกหลานของท่านศาสดา(ศ.) มาให้สัตยาบันแก่เขาเพื่อรับรองอำนาจของเขา ซึ่งอิมามฮุเซน(อ.) มีสิทธิ์ที่จะปฏิเสธ
ท่านได้พยายามหลีกเลี่ยงการเผชิญหน้าอย่างรุนแรงแล้ว ด้วยการออกเดินทางจากมะดีนะฮ์ในเดือนรอญับ ฮ.ศ.61 พร้อมด้วยครอบครัวและสหายสาวกของท่านซึ่งเป็นผู้ศรัทธาที่แท้จริงจำนวนหนึ่ง ท่านได้แสดงเจตนารมณ์ที่จะออกไปจากอาณาจักรที่อยู่ในอำนาจการปกครองของยะสีด
แต่ยะสีดได้ส่งกองทัพเข้าล้อมกองคาราวานของอิมามฮุเซน(อ.) เมื่อคณะของท่านเดินทางมาถึงแผ่นดินกัรบาลาอฺ เมื่อวันที่ 2 มุฮ��รร็อม ฮ.ศ.61
เหตุการณ์ "ล่วงละเมิด" ได้เกิดขึ้นแล้ว อันเป็นการฝ่าฝืนโองการของอัลลอฮ์ ที่สั่งให้มุฮัรร็อมเป็นเดือนต้องห้ามจากการสู้รบ และเป็นสิทธิอันชอบธรรมแล้วของอิมามฮุเซน(อ.) และบรรดาผู้ศรัทธาที่จะต้อง "ตอบโต้"
การนองเลือดที่แผ่นดินกัรบะลาอฺเมื่อวันที่ 10 มุฮัรร็อม ฮ.ศ.61 ทำให้อิมามฮุเซน(อ.) ได้รับชะฮีด พร้อมกับลูกหลานและสหายสาวกของท่านอีก 72 คน
ไม่ต้องสงสัยเลยว่าเดือนมุฮัรร็อมนั้น เป็นเดือนต้องห้ามและเป็นเดือนศักดิ์สิทธิ์เดือนหนึ่ง ในเดือนนี้ ผู้ศรัทธาทั้งชายและหญิงควรจะหลีกเลี่ยงการงานที่รื่นเริงทั้งหมด และเข้าร่วมการพบปะกันเพื่อรำลึกถึงเรื่องราวของโศกนาฏกรรมแห่งกัรบะลาอฺ เพื่อเล่าขานวีรกรรมของอิมามฮุเซน(อ.) และชะฮีดอีก 72 ท่าน สืบทอดต่อไปสู่ลูกหลาน เช่นเดียวกับที่มันได้ถูกเล่าขานมาทุกปีตลอดระยะเวลาพันกว่าปีแล้ว
เป็นการถือศีลอดที่มีความประเสริฐยิ่ง ซึ่งมีตำแหน่งรองจากเดือนรอมฎอน ท่านนบีมุฮัมมัด ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้กล่าวว่า
ซึ่งมีใจความว่า “การถือศีลอดที่ประเสริฐยิ่งหลังจากเดือนรอมฎอน คือการถือศีลอดเดือนของอัลลอฮฺที่ต้องห้าม (อัลมุฮัรร็อม) ” (บันทึกโดยอิมามมุสลิม อบูดาวู้ด และติรมีซีย์)
ดังนั้น ผู้ใดมีความสามารถที่จะถือศีลอดในเดือนมุฮัรร็อมทุกวัน เกือบทุกวัน หรือบางวัน ก็เป็นการดีในการให้เกียรติเดือนที่ต้องห้ามนี้ หากไม่สามารถถือศีลอดหลายวัน ก็ให้ปฏิบัติความประเสริฐประการต่อไป
ที่เราเรียกกันว่า 'อาชูรออฺ ซึ่งเป็นวันที่มีเกียรติในศาสนาอื่นด้วย เช่น ศาสนายิว เพราะเป็นวันที่ท่านนบีมูซา อะลัยฮิสสลาม ได้รับความปลอดภัยจากฟิรเอานฺ จึงเป็นวันแห่งการขอบคุณของบนีอิสรออีล และเป็นที่รู้กันดีว่าท่านนบีมูซาได้ถือศีลอดในวันนี้ เมื่อท่านนบีมุฮัมมัด ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม อพยพไปยังเมืองมะดีนะฮฺ และท่านได้ทราบว่าชาวยิวที่อาศัยอยู่ในเมืองมะดีนะฮฺกำลังถือศีลในวันนั้น ท่านนบีจึงประกาศให้เป็นวันถือศีลอดของชาวมุสลิมด้วย โดยกล่าวว่า “ฉันมีข้อเกี่ยวพันกับมูซามากกว่าพวกท่าน (โอ้ชาวยิว) ” ท่านนบีจึงถือศีลอดวันนั้นและใช้ให้บรรดามุสลิมีนถือศีลอดด้วย” (บันทึกโดยบุคอรียฺและมุสลิม)
บรรดานักปราชญ์อิสลามชี้แจงว่า ในช่วงแรกการถือศีลอดวันอาชูรออฺ (สิบมุฮัรร็อม) เป็นวาญิบ (จำเป็นต้องปฏิบัติ) เพราะก่อนหน้านี้ยังไม่มีการใช้ให้ถือศีลอดเดือนรอมฎอน จึงถือเป็นการถือศีลอดฟัรฎูของมุสลิม แต่หลังจากที่มีบทบัญญัติใช้ให้บรรดามุสลิมีนถือศีลอดเดือนรอมฎอนเป็นฟัรฎูแล้ว ท่านนบีมุฮัมมัด ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ก็ไม่ได้บังคับให้ถือศีลอดในวันนี้ แต่ยืนยันในความประเสริฐด้วยถ้อยคำอันชัดเจน เช่น . سُئِلَ عَنْ صَوْمِ يَوْمِ عَاشُوْرَاءَ فَقَالَ يُكَفِّرُ السَّنَةَ المَاضِيَةَ
ท่านนบีถูกถามถึงการถือศีลอดในวันอาชูรออฺ ท่านตอบว่า “ลบล้างความผิดตลอดหนึ่งปีที่ผ่านมา” (บันทึกโดยมุสลิม) ดังนั้น บรรดาอุละมาอฺจึงมีความเห็นตรงกันถึงความประเสริฐของการถือศีลอดในวันอาชูรออฺ
เดือนมุฮัรร็อมถือเป็นวาระสำคัญอย่างยิ่ง เพราะอัลลอฮฺ ซุบฮานะฮูวะตะอาลา ได้ทรงกำชับบรรดาผู้ศรัทธาไม่ให้อธรรมตัวเองในเดือนที่ต้องห้าม หมายถึง ไม่ให้ละเมิดกรอบสิ่งที่ต้องห้าม และไม่ให้ละเว้นสิ่งที่ต้องปฏิบัติ
สำหรับเดือนมุฮัรร็อมมีความประเสริฐบางประการที่บางกลุ่มบางลัทธิเชื่อถือกัน แต่หาได้มีหลักฐานรับรองในความประเสริฐนั้นไม่ เช่นตัวอย่างดังต่อไปนี้
- ความเชื่อว่าวันที่ 10 มุฮัรร็อมเป็นวันที่ท่านนบีนูหฺได้รับความปลอดภัยจากน้ำท่วมด้วยเรือลำใหญ่ที่อัลลอฮฺทรงสอนให้ท่านนบีนูหฺสร้างเพื่อความปลอดภัยของท่านและผู้ศรัทธา ซึ่งหะดีษที่กล่าวถึงเรื่องนี้อยู่ในระดับที่เชื่อถือมิได้ ดังนั้น ทางความศรัทธาไม่อนุญาตให้เชื่อในสิ่งที่ไม่มีหลักฐานชัดเจนรองรับ
- ความเชื่อว่าวันที่ 10 มุฮัรร็อมนั้นให้ทำขนมหรือแจกขนมชนิดหนึ่งชนิดใด โดยเชื่อว่าการทำขนมเฉพาะให้วันที่สิบมุฮัรร็อมนั้นมีความประเสริฐเป็นพิเศษ ซึ่งความเชื่อเช่นนี้มีความคลาดเคลื่อนและผิดหลักการใน 2 ประเด็น
ประเด็นแรก คือ เป็นการกระทำที่ไม่มีหลักฐานรองรับ และการกระทำอย่างหนึ่งอย่างใดถ้าเราเชื่อว่ามีผลบุญ (เช่นเชื่อว่าทำขนมในวันอาชูรออฺมีผลบุญเป็นพิเศษ) ถ้าไม่มีหลักฐานในการกระทำนั้นๆ ก็จะถือว่าเป็นบิดอะฮฺที่ต้องละทิ้ง
ประเด็นที่สอง คือ เป็นพฤติกรรมที่ถูกริเริ่มด้วยกลุ่มอันนะวาศิบ คือกลุ่มที่เกลียดชังท่านอะลี อิบนุอบีฏอลิบ และอะหฺลุลบัยตฺ (ครอบครัวและลูกหลานของท่านนบี) กลุ่มนี้ได้แสดงความดีใจในการเข่นฆ่าท่านอัลหะซัยนฺ อิบนุอะลี (ร่อฎิยัลลอฮุอันฮุมา) ในวันที่ 10 มุฮัรร็อม จึงทำขนมและแจกเพื่อแสดงความยินดีในเหตุการณ์นั้น และกลุ่มนะวาศิบนี้ก็จะเป็นกลุ่มตรงข้ามกับกลุ่มชีอะฮฺ กล่าวคือ กลุ่มชีอะฮฺร่อวาฟิฎจะรักอะหฺลุลบัยตฺอย่างเลยเถิด แต่กลุ่มนะวาศิบจะเกลียดอะหฺลุลบัยตฺโดยไม่มีเหตุผล และระหว่างสองกลุ่มก็จะมีอะฮฺลุซซุนนะฮฺวัลญะมาอะฮฺที่รักใคร่อะหฺลุลบัยตฺตามขอบเขตของอิสลามและด้วยเหตุผลที่ถูกต้อง
แหล่งที่มาดั้งเดิม: ${vars.title} แบ่งปันกับ ใบอนุญาต Creative Commons Attribution-ShareAlike 3.0
Ne Demek sitesindeki bilgiler kullanıcılar vasıtasıyla veya otomatik oluşturulmuştur. Buradaki bilgilerin doğru olduğu garanti edilmez. Düzeltilmesi gereken bilgi olduğunu düşünüyorsanız bizimle iletişime geçiniz. Her türlü görüş, destek ve önerileriniz için iletisim@nedemek.page