พระราชวังรัตนรังสรรค์ สร้างขึ้นเมื่อ ปี พ.ศ. 2433 โดยพระยารัตนเศรษฐี (คอซิมก๊อง) เจ้าเมืองระนองในขณะนั้น เนื่องด้วยรัชกาลที่ 5 ได้เสด็จประพาสหัวเมืองปักษ์ใต้ฝ่ายตะวันตกเป็นครั้งแรกที่จะได้เสด็จไปถึงเมืองระนองในวันที่ 23-25 เมษายน พ.ศ. 2433 พระยารัตนเศรษฐีจึงได้สร้างพลับพลาที่ประทับรับเสด็จที่บนเนินควนอันอยู่ใจกลางเมือง
เรื่องตำนานพระราชวังรัตนรังสรรค์นั้น เกี่ยวข้องตำนานเมืองระนอง โดยปี พ.ศ. 2433 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จประพาสหัวเมืองปักษ์ใต้ฝ่ายตะวันตก เป็นครั้งแรกที่จะได้เสด็จไปถึงเมืองระนอง พระยารัตนเศรษฐี (คอซิมก๊อง เจ้าเมืองระนอง) สร้างที่ประทับรับเสด็จที่บนเนินควนอันอยู่กลางเมือง สร้างล้วนด้วยเครื่องก่อประกอบกับไม้แก่นอย่างมั่นคง ประสงค์จะถวายเป็นราชพลีสนองพระเดชพระคุณซึ่งได้ทรงชุบเลี้ยงสกุลวงศ์มา และทรงประทับแรม ณ พระที่นั่งรัตนรังสรรค์ เป็นเวลา 3 ราตรี ระหว่าง 23-25 เมษายน พ.ศ. 2433
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จไปทอดพระเนตรเห็นดำรัสว่า“...ทำงดงามมั่นคงสมควรจะเป็นวัง ยิ่งกว่าจะเป็นพลับพลา...” จึงพระราชทานนามว่า “พระราชวังรัตนรังสรรค์” ให้เป็นเกียรติยศแก่เมืองระนอง และสกุลของพระยารัตนเศรษฐีด้วย แต่ทรงพระราชดำริว่า ที่เมืองระนองนาน ๆ จะเสด็จประพาสครั้งหนึ่ง วังทิ้งไว้เปล่าก็จะชำรุดทรุดโทรมเสีย จึงพระราชทานพระบรมราชานุญาตว่า โดยปกติให้ใช้พระราชวังนั้นเป็นศาลารัฐบาล และทำพิธีสำหรับบ้านเมือง ต่อเมื่อมีการเสด็จประพาสเมื่อใดจึงให้จัดเป็นที่ประทับ
ต่อมาองค์พระที่นั่งฯ ชำรุดทรุดโทรมลง ในสมัยพระยาดำรงสุจริตมหิศรภักดี (คออยู่หงี่) เป็นเจ้าเมืองระนอง (พ.ศ. 2433-2460) จึงได้ร่วมกับสมุหเทศาภิบาลมณฑลภูเก็ต ปรับปรุง และดัดแปลงพระที่นั่งรัตนรังสรรค์ใหม่ โดยสร้างเป็นรูปเรือนตึกก่ออิฐถือปูน 2 ชั้น ทาสีขาว หันหน้ามุขไปทางด้านทิศตะวันตก และประดับตราพระครุฑพ่าห์ ก่อสร้างเสร็จเมื่อ พ.ศ. 2444 แล้วใช้อาคารหลังนี้เป็นศาลากลางเมืองระนองเรื่อยมา พระที่นั่งรัตนรังสรรค์องค์ใหม่นี้ยังได้ใช้เป็นที่ประทับของ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 และ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 อีก 3 ครั้ง
ครั้งแรก พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ขณะดำรงพระยศเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ สยามมงกุฎราชกุมาร เสด็จฯ เมืองระนองครั้งแรก คราวประพาสหัวเมืองปักษ์ใต้ เสด็จฯ ประทับแรม 4 ราตรี ระหว่างวันที่ 16-19 เมษายน พ.ศ. 2452
ครั้งที่ 2 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อขึ้นครองราชย์แล้ว คราวเสด็จฯ เยี่ยมหัวเมืองมณฑลปักษ์ใต้ฝ่ายตะวันตก เสด็จฯ ประทับแรม 3 ราตรี ระหว่างวันที่ 17-19 เมษายน พ.ศ. 2460
ครั้งที่ 3 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ในคราวเสด็จฯ ประพาสเยี่ยมหัวเมืองชายทะเลฝ่ายตะวันตก เสด็จฯ ประทับแรม 1 ราตรี ในวันที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2471
เป็นพระราชวังที่ทำด้วยไม้สักและไม้ตะเคียนทองสิ่งที่จัดแสดงภายในพระราชวังฯ อาคารเป็นสถาปัตยกรรมแบบ Europe cabanas มีห้องต่างๆ ได้แก่ ห้องบรรทมพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ชั้น 3) ห้องพระราชินี (ชั้น 2) มีจำนวน 6 ห้อง อาคารทรงแปดเหลี่ยม อาคารท้องพระโรง สะพานเชื่อมอาคารที่ประทับกับอาคารแปดเหลี่ยม
แหล่งที่มาดั้งเดิม: ${vars.title} แบ่งปันกับ ใบอนุญาต Creative Commons Attribution-ShareAlike 3.0
Ne Demek sitesindeki bilgiler kullanıcılar vasıtasıyla veya otomatik oluşturulmuştur. Buradaki bilgilerin doğru olduğu garanti edilmez. Düzeltilmesi gereken bilgi olduğunu düşünüyorsanız bizimle iletişime geçiniz. Her türlü görüş, destek ve önerileriniz için iletisim@nedemek.page