มาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ () หรือเรียกสั้นๆ ว่า “QE” เป็นหนึ่งในวิธีการของนโยบายการเงินแบบพิเศษที่มีเป้าหมายไม่ต่างกับนโยบายการเงินแบบปกติ คือ เพื่อรักษาเสถียรภาพโดยรวมของเศรษฐกิจ ทั้งในแง่เสถียรภาพด้านการเงินและการกระตุ้นด้านอุปสงค์เพื่อให้เกิดการจ้างงานและให้เศรษฐกิจกลับมาขยายตัวได้
มาตรการ QE นั้น เป็นมาตรการทางการเงินที่ไม่ได้ใช้ในช่วงเวลาปกติ (Unconventional Monetary Policy) กล่าวคือ เมื่อเกิดวิกฤตเศรษฐกิจ ธนาคารกลางจะใช้นโยบายทางการเงินต่าง ๆ เพื่อมากระตุ้นเศรษฐกิจ มาตรการทางการเงินที่ถูกใช้มากที่สุดคือคือการลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายให้อยู่ในระดับที่ต่ำ เพื่อลดต้นทุนการกู้ยืมของภาคธุรกิจให้อยู่ในระดับที่ต่ำลง โดยมาตรการ QE เป็นมาตรการที่ใช้เพื่อเพิ่มสภาพคล่องเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจ เพื่อกระตุ้นให้เกิดการใช้จ่ายภาคเอกชน นอกจากนั้นยังใช้เพื่อลดอัตราผลตอบแทนพันธบัตร (Yield) ให้อยู่ในระดับต่ำลงมา โดยที่ธนาคารกลางจะเข้าไปซื้อตราสารหนี้ทั้งของภาครัฐและเอกชน ทั้งนี้เพื่อก่อให้เกิดการลดต้นทุนในการกู้ยืมของภาคธุรกิจลง ซึ่งเป็นการช่วยให้การผลิต และการจ้างงานสามารถดำเนินต่อไปได้ แต่อย่างไรก็ตาม มาตรการนี้ก็ก่อให้เกิดผลกระทบในด้านต่างๆด้วยเช่นกัน อาทิ เกิดแรงกดดันทางด้านเงินเฟ้อ เนื่องจากมีการอัดฉีดปริมาณเงินเข้าสู่ระบบ และยังส่งผลกระทบต่อค่าเงินที่อ่อนค่าลงด้วยเช่นกัน1
อย่างไรก็ดีการดำเนินนโยบายการเงินแบบพิเศษนี้ ไม่สามารถทำได้เป็นระยะเวลานาน เพราะมีต้นทุนสูง โดยเฉพาะในด้านการสร้างความบิดเบือนในระบบเศรษฐกิจและการเงินจนอาจกระทบต่อเสถียรภาพโดยรวมของเศรษฐกิจได้ อีกทั้งผลกระทบจากการดำเนินนโยบายเหล่านี้ไม่เพียงจำกัดในประเทศผู้ใช้เท่านั้น แต่ยังส่งผ่านไปยังประเทศอื่นๆ อีกด้วยในระยะข้างหน้า การดำเนินนโยบายการเงินจึงจำเป็นต้องกลับเข้าสู่ปกติ ซึ่งการถอนมาตรการเหล่านี้ก็จะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจการเงินทั้งในประเทศและต่างประเทศด้วยเช่นกัน
แหล่งที่มาดั้งเดิม: ${vars.title} แบ่งปันกับ ใบอนุญาต Creative Commons Attribution-ShareAlike 3.0
Ne Demek sitesindeki bilgiler kullanıcılar vasıtasıyla veya otomatik oluşturulmuştur. Buradaki bilgilerin doğru olduğu garanti edilmez. Düzeltilmesi gereken bilgi olduğunu düşünüyorsanız bizimle iletişime geçiniz. Her türlü görüş, destek ve önerileriniz için iletisim@nedemek.page