เข้ากรรม คืออะไร

บุญเข้ากรรม หรือ บุญเดือนอ้าย1 ตรงกับวันเพ็ญเดือนอ้ายหรือเดือนธันวาคม จัดทำโดยพระภิกษุ ผู้ต้องอาบัติสังฆาทิเสส คือ อาบัติขนาดกลาง ต้องปฏิบัติวุฏฐานวิธี คือ ระเบียบเป็นเครื่องออกอาบัติ โดยให้พระสงฆ์เข้าไปอยู่ในเขตที่จำกัด ทรมานกายและชำระจิตใจให้บริสุทธิ ถือเป็นการแทนคุณมารดาที่ต้องอยู่กรรม(อยู่ไฟ) ด้วยการเข้ากรรมทำอยู่เก้าราตรี คือ สามราตรีแรกเรียกว่า อยู่บริวาส และหกราตรีต่อมาเรียกว่า อยู่มานัต เมื่อครบเก้าราตรีจึงอัพภาน คือ ออกจากกรรม โดยมีพระสงฆ์ 20 รูป เป็นผู้สวดอัพภาน

การสวดระงับอาบัติ ภิกษุที่ออกจากกรรมแล้ว ถือว่าเป็นผู้หมดมลทินบริสุทธิ์ผุดผ่อง ชาวบ้านที่ทำบุญถวายทานแด่พระสงฆ์ระหว่างเข้ากรรมถือได้ว่ากุศลแรง2

ความสำคัญ3

บุญเข้ากรรม คือบุญที่ทำขึ้นในเดือนอ้าย (เดือนเจียง) ซึ่งเป็นเดือนแรกของปีที่ชาวอีสานจะต้องประกอบพิธีบุญ กันจนเป็นประเพณีซึ่งอาจจะเป็นข้างขึ้นหรือข้างแรมก็ได้ พิธีบุญนี้จะเกี่ยวกับพระโดยตรงซึ่งความจริงน่าจะเป็นเรื่องของสงฆ์โดยเฉพาะ แต่มีความเชื่อกันว่าเมื่อทำบุญกับพระที่ทำพิธีนี้จะทำให้ได้อานิสงส์มาก ญาติโยมจึงคิดวันทำบุญเข้ากรรมขึ้น

ตกมาถึงเดือนอ้ายขึ้นศักราชใหม่ “เดือนอ้าย” ก็คือเดือนที่หนึ่ง หรือบางทีเรียก “เดือนเจียง” ตามประเพณีฮีตคลองของอีสานบ้านเฮา หรือ “ฮีตสิบสองคลองสิบสี่” นั้น จะมีการทำบุญประจำเดือน คือ “บุญเข้ากรรม” มีคำผญาอีสานเกี่ยวกับบุญเดือนอ้ายที่ทีมงานอีสานร้อยแปดเฮาได้รวบรวบรวมมา

ตกฤดูเดือนอ้ายปลายลมมาสิหนาวหน่วง ตกหว่างช่วงสังโฆเจ้าเพิ่นเข้ากรรม เฮามาพากันค้ำทำบุญตักบาตร ปริวาสซ่อยหยู้ซูค้ำศาสนา

ฮีตหนึ่งนั้น เถิงเดือนเจียง เข้ากลายมาแถมถ่ายฝูงหมู่สังฆเจ้าก็เตรียมเข้าอยู่กรรมมันหาธรรมเนียมนี้ถือมาตั้งแต่ก่อน อย่าได้ละห่างเว้นเข็ญ (บาปเข็ญ คือ สิ่งที่ไม่ดีไม่งาม ความชั่วร้าย ไม่เป็นมงคล)สิข่องแล่นนำ แท้แหล่ว

บุญเข้ากรรมที่บอกว่าเป็นบุญสำหรับพระโดยตรงนั้นเพราะเป็นกิจกรรมที่ต้องการทำเพื่อให้พระที่ต้องอาบัติสังฆาทิเสส (อาบัติหนักรองจากปาราชิก) ซึ่งถือว่าเป็นครุกาบัติประเภทหนึ่ง ภิกษุเมื่อต้องอาบัตินี้แล้วจะต้องทำพิธีที่เรียกว่า วุฏฐานพิธีหรือพิธีเข้ากรรมตามที่ชาวพุทธทั่วไปรู้จักกัน

การเข้ากรรม คือ การอยู่ปริวาสกรรมของภิกษุผู้ต้องอาบัติสังฆาทิเสส4 เรียกว่า “เข้าปริวาสกรรม” โดยให้พระภิกษุผู้ต้องอาบัติ (กระทำผิด) ได้สารภาพต่อหน้าคณะสงฆ์ เพื่อเป็นการฝึกจิตสำนึกถึงความบกพร่องของตนเอง และมุ่งประพฤติตนให้ถูกต้อง ตามพระวินัย พิธีเข้าปริวาสกรรมจะเป็นข้างขึ้นหรือข้างแรมก็ได้ โดยกำหนดไว้ 9 ราตรี พระภิกษุสงฆ์ที่ต้องการเข้าปริวาสกรรมต้องไปพักอยู่ในสถานที่สงบ ไม่มีผู้คนพลุกพล่าน5

สังฆาทิเสส มี 13 ข้อ ภิกษุผู้ต้องอาบัติสังฆาทิเสสจะต้องเข้าปริวาสกรรม6

1. ปล่อยน้ำอสุจิด้วยความจงใจ เว้นไว้แต่ฝัน

2. เคล้าคลึง จับมือ จับช้องผม ลูบคลำ จับต้องอวัยวะอันใดก็ตามของสตรีเพศ

3. พูดจาหยาบคาย เกาะแกะสตรีเพศ เกี้ยวพาราสี

4. การกล่าวถึงคุณในการบำเรอตนด้วยกาม หรือถอยคำพาดพิงเมถุน

5. ทำตัวเป็นสื่อรัก บอกความต้องการของอีกฝ่ายให้กับหญิงหรือชาย แม้สามีกับภรรยา หรือแม้แต่หญิงขายบริการ

6. สร้างกุฏิด้วยการขอ

7. สร้างวิหารใหญ่ โดยพระสงฆ์มิได้กำหนดที่ รุกรานคนอื่น

8. แกล้งใส่ความว่าปาราชิกโดยไม่มีมูล

9. แกล้งสมมุติแล้วใส่ความว่าปาราชิกโดยไม่มีมูล

10. ยุยงสงฆ์ให้แตกกัน

11. เป็นพ��กของผู้ที่ทำสงฆ์ให้แตกกัน

12. เป็นผู้ว่ายากสอนยาก และต้องโดนเตือนถึง 3 ครั้ง

13. ทำตัวเป็นเหมือนคนรับใช้ ประจบคฤหัสถ์7

การเข้าปริวาสกรรม เป็นการสำรวม กาย วาจา ใจ ไม่ให้กระทำผิดอีกต่อไป มีการนั่งสมาธิเดินจงกรม สวดมนต์ภาวนา ใช้เวลามากกว่าปกติ บางทีมีการอดข้าว อดน้ำถึง 2-3 วันก็มี หรือบางทีก็ถูกอาจารย์กรรมฝึกหนัก ทั้งนี้ก็เพื่อให้รู้และเข้าใจความยากลำบากของคำว่า กรรม หรืออยู่กรรม ที่แม่ได้อยู่ไฟหรือว่าอยู่กรรมนั้นมี ความยากลำบากเพียงไร เพราะฉะนั้น คนในสมัย

ก่อนๆ จึงมีความตระหนักและเข้าใจในบุญคุณของพ่อแม่ ไม่มีข่าวปรากฏให้ได้ยินเห็นว่าลูกฆ่าพ่อ ตีแม่ ลูกอกตัญญ แต่กลับเทิดทูนพ่อแม่ในฐานะปูชนียบุคคลในระดับครอบครัวอย่างแท้จริง

ในกิจกรรมของพระในการนี้ พุทธศาสนิกชนผู้หวังบุญกุศลก็ร่วมกันดูแลอุปัฎฐาก รักษาพระเจ้าพระสงฆ์ที่เข้าอยู่กรรม บริจาคทาน รักษาศีล ฟังธรรม เกี่ยวกับการเข้าอยู่ปริวาสกรรมของพระภิกษุ เรียกว่า”บุญเข้ากรรม” ส่วนกำหนดการทำบุญดังกล่าวได้กำหนดเอาเดือนอ้าย จึงมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “บุญเดือนอ้าย8

ส่วนกิจของชาวพุทธศาสนิกชนในบุญเข้ากรรมนี้ คือการหาข้าวของเครื่องอุปโภคบริโภถวายพระ ซึ่งถือว่าจะได้บุญมากกว่าการทำบุญตักบาตรทั่วไป

ความเป็นมา

มีเรื่องเล่าว่า ครั้งหนึ่งมีพระภิกษุรูปหนึ่ง ล่องเรือไปตามแม่น้ำคงคาได้เอามือไปจับใบตะไคร่น้ำขาดเข้าใจว่าเป็นอาบัติเพียงเล็กน้อยจึงมิได้แสดงอาบัติ ต่อมาแม้ว่าพระภิกษุรูปนั้นจะปฏิบัติธรรมอยู่ในป่าเป็นเวลานานก็ยังคงนึกอยู่เสมอว่า ตนต้องอาบัติอยากจะใคร่แสดงอาบัติแต่ไม่มีพระภิกษุรับแสดงครั้นเมื่อพระภิกษุรูปที่กล่าวมรณะแล้วจึงไปเกิดเป็นนาคชื่อเอรถปัต จากเหตุเพียงอาบัติเล็กน้อยเพียงเป็นอาบัติเบายังกรรมติดตัวขนาดนี้ ถ้าเป็นอาบัติหนักก็คงจะบาปมากกว่านี้ ดังนั้นจึงจัดให้มีการอยู่ปริวาสกรรมเพื่อให้พ้นจากอาบัติ

ชาวอีสานโบราณเชื่อกันว่าพระภิกษุหากได้อยู่กรรมแล้ว ย่อมจะออกจากอาบัติได้และทำให้บรรลุมรรคผลดังปรารถนาถึงเดือนอ้ายจึงกำหนดให้เป็นเดือนเข้ากรรม เพื่อให้พระสงฆ์ออกจากอาบัติดังกล่าว9

อ้างอิง

แหล่งที่มาดั้งเดิม: ${vars.title} แบ่งปันกับ ใบอนุญาต Creative Commons Attribution-ShareAlike 3.0

Footnotes

  1. 1

  2. เดือนอ้าย – บุญเข้ากรรม, พฤศจิกายน 20, 2015, ไทสกล คนสว่าง.

    <span class="fa fa-calendar-o" aria-hidden="true"></span>

  3. [http://www.p-esan.com/ประวัติวันสงกรานต์]

  4. 2

  5. พระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๘ หน้าที่ ๑๒๔-๑๒๘

  6. 3

หมวดหมู่