มัลละ คืออะไร

แคว้นมัลละ () เป็นอาณาจักรโบราณของประเทศอินเดีย ตั้งอยู่ทางตะวันตกของแคว้นวัชชี ทางเหนือหรือตะวันออกเฉียงเหนือของแคว้นกาสี และทางตะวันออกเฉียงใต้ของแคว้นโกศล เทียบกับปัจจุบันแคว้นมัลละได้แก่พื้นที่ส่วนตะวันออกของรัฐอุตตรประเทศ คือ บริเวณจังหวัดโครักขปูร์ เดวเรีย หรือเทวริยา กับบางส่วนของจังหวัด อซัมคาร์ห แคว้นมัลละมีการปกครองแบบคณราชย์ หรือสามัคคีธรรม ทำนองเดียวกันกับแคว้นวัชชี คณะเจ้าผู้ครองแคว้นคือเจ้าวงศ์มัลละอาณาเขตของแคว้นมัลละ1 ไม่มีบอกไว้ชัดแจ้ง แต่เมื่อประมวลหลักฐานจากที่ต่าง ๆ เข้าด้วยกันแล้ว นักโบราณคดีให้ความเห็นว่า ทิศตะวันออก จดแคว้นวัชชีโดยมีแม่น้ำซึ่งเรียกในปัจจุบันว่า คัณฑัก หรือคัณฑกีใหญ่และลงความเห็นกันว่าได้แก่ แม่น้ำ สทานีราหรือแม่น้ำมหีในสมัยก่อน เป็นแดนแบ่งเขตแคว้น ทั้งสองเขตทางทิศใต้ จดแคว้นกาสี ทิศตะวันตกจดแคว้นโกศล ทิศเหนือยื่นไปจนจดภูเขาหิมาลัย แคว้นมัลละนี้ ในสมัยพุทธกาลแยกเป็นสองส่วน ส่วนหนึ่ง มีเมืองหลวงอยู่ที่กุสินารา อีกส่วนหนึ่งอยู่ที่ ปาวา กล่าวว่าเมืองทั้ง สองนี้อยู่ห่างกัน 3 คาวุต (ประมาณ 12 กิโลเมตร)2 เทียบกับเมืองหลวง และเมืองสำคัญบางเมืองของแคว้นอื่น ๆในสมัยนั้นแล้ว ทั้งกุสินาราและปาวา อยู่ในฐานะเป็นเมืองเล็ก

แคว้นมัลละ เป็นแดนศักดิ์สิทธิ์แห่งหนึ่งของพุทธศาสนิก ในฐานะเป็นที่เสด็จปรินิพพานของพระพุทธองค์ พระพุทธองค์ เสด็จดับขันธปรินิพพานที่แคว้นนี้ที่สาลวัน - ป่าไม้รัง – อันเป็นพระราชอุทยานที่เสด็จประพาสของเหล่ากษัตริย์มัลละซึ่งตั้งอยู่บนฝั่งแม่น้ำหิรัญวดี เขตเมืองกุสินารา ห่างจากตัวเมืองไปทางตะวันตกเฉียงเหนือไม่ไกลนัก

ในช่วงเวลา 45 พรรษาของการบำเพ็ญพุทธกิจ พระพุทธองค์เคยได้เสด็จมายังกุสินาราและปาวารวมหลายครั้งด้วยกัน ในวันเสด็จปรินิพพานพระพุทธองค์ทรงรับภัตตาหาร อันเป็นปัจฉิมบิณฑบาต หรือภัตตาหารมื้อสุดท้ายสำหรับพระองค์ ที่บ้านของนายจุนทะกัมมารบุตร ณ เมืองปาวา จากนั้นจึงได้เสด็จต่อมายังกุสินารา อันเป็นปรินิพพานสถานปัจจุบัน กุสินารา ได้แก่หมู่บ้าน หรือตำบลซึ่งเรียกชื่อว่า กุสินคร หรือกาเซียหรือกาสยา ในเขตจังหวัดเดวเรีย หรือเทวริยา แห่งรัฐอุตตรประเทศ อยู่ทางเหนือของเทวริยา และทางตะวันออกของตัวจังหวัดโครักขปูร์ ระยะทาง 34 กิโลเมตรหรือ 21 ไมล์ และ 45 กิโลเมตร หรือ 34 ไมล์ โดยลำดับ เมื่อก่อนหมู่บ้านหรือตำบลนี้ขึ้นกับจังหวัดโครักขปูร์ แต่ปัจจุบันขึ้นกับจังหวัดเทวริยาซากของกุสินารา ซึ่งโผล่ขึ้นมาให้เห็นจากผลแห่งการขุดค้นของนักสำรวจและได้หลักฐานยืนยันแน่นอนแล้วขณะนี้ก็คือ สาลวโนทยานสถานที่เสด็จปรินิพพานของพระพุทธองค์3 ซึ่งมีชื่อเรียกในท้องถิ่นว่า มาถา กุนวะระ กา โกฏ แปลว่าตำบลเจ้าชายสิ้นชีพ การขุดค้นสำรวจ ได้พบพระพุทธรูปหินใหญ่ปางเสด็จ บรรทมปรินิพพานยาว 20 ฟุต สร้างประดิษฐานไว้ ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 5 (พ.ศ. 900 เศษ) กับซากสถูปเก่าแก่แผ่นจารึกภายใน บอกว่าเป็น ปรินิพพานสถูป อันเป็นเครื่องบ่งชัดว่าสร้างหมายจุดที่เสด็จปรินิพพาน รวมทั้งซากสถูปเจดีย์ใหญ่น้อย และซากกุฏิวิหารโดยรอบอีกด้วย ที่ตั้งของตัวเมืองกุสินารา ยังไม่ได้ทำการขุดค้นให้เป็นที่ยืนยันแน่นอน แต่นักโบราณคดีรวมทั้งชาวพุทธอินเดียทั่วไป ลงความเห็นว่า ได้แก่หมู่บ้านซึ่งมีชื่อในปัจจุบันว่า อนรุธวา หรือ อนิรุธวา ซึ่งอยู่ห่างจากที่เสด็จปรินิพพาน ที่ค้นพบแล้วนี้ไปทางตะวันออกเฉียงใต้ไม่ไกลกันนักสถานที่ซึ่งได้ค้นพบและลงความเห็นแน่นอนแล้วอีกแห่งหนึ่งที่กุสินารานี้คือ มกุฏพันธนเจดีย์ที่ถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระ ซึ่งมีชื่อเรียกในท้องถิ่นว่ารามภาร์-กา-ฏีลา อยู่ห่างจากที่ เสด็จปรินิพพานประมาณกิโลเมตรเศษ มีซากสถูปใหญ่เก่าแก่เป็นที่หมายเช่นเดียวกับกุสินารา ที่ตั้งของเมืองปาวา ก็ยังคงไม่มีหลักฐานให้ยืนยันได้อย่างแน่ชัด บางท่านให้ความเห็นว่า ได้แก่ ตำบลปทเรานะ ซึ่งอยู่ห่างจากกุสินาราไปทางเหนือ 18 กิโลเมตร หรือ 12 ไมล์ ในเขตจังหวัดเทวริยา แต่ส่วนมากรวมทั้งชาวพุทธ อินเดียเห็นว่า ได้แก่ หมู่บ้านที่มีชื่อในปัจจุบันว่า ฟะซิลนคร หรือเจติยันวา (หมู่บ้านเจดีย์) ซึ่งอยู่ห่างจากที่เสด็จปรินิพพานไปทาง ตะวันออกเฉียงใต้ ระยะทาง 12 กิโลเมตร หรือ 10 ไมล์ หมู่บ้าน นี้อยู่ในเขตเทวริยาเช่นกัน และมีซากโบราณสถานอยู่มากนอกจากกุสินาราและปาวาแล้ว สถานที่ในเขตแคว้นมัลละ ซึ่งควรได้รับการกล่าวถึงโดยเฉพาะอีกทางหนึ่งก็คือ อนุปิยอัมพวัน หรือ อนุปิยนิคม ซึ่งคัมภีร์กล่าวว่าอยู่ริมฝั่งแม่น้ำ อโนมา และ อยู่ห่างจากกรุงกบิลพัสดุ์กับราชคฤห์ 30 โยชน์เท่ากัน

พระพุทธองค์เมื่อเสด็จออกบรรพชา เสด็จถึงแม่น้ำอโนมา ทรงข้ามแม่น้ำ ทรงปลงพระเกศา ครองผ้ากาสาวะอธิษฐานเพศบรรพชา แล้วเสด็จอยู่ ณ อนุปิยอัมพวันเป็นเวลา ๗ วัน ก่อนที่จะได้เสด็จสู่ราชคฤห์ ครั้งพระองค์เสด็จเยี่ยมกบิลพัสดุ์หลังตรัสรู้แล้ว เมื่อเสด็จ กลับก็ได้เสด็จประทับ ณ อนุปิยอัมพวันนี้อีก และ ณ ที่นี้ ในโอกาสนั้นพระญาติ 6 องค์คือ อนุรุทธะภัททิยะ อานันทะ ภคุ กิมพิละ และ เทวทัต รวมเป็น ๗ กับนายอุบาลีภูษามาลา ได้มาเฝ้าพระพุทธองค์เพื่อทูลขอบวชในพระพุทธศาสนา ซึ่งพระพุทธองค์ก็ทรงอนุญาต และได้ทรงประทานอุปสมบทให้ดั่งประสงค์ความสำคัญอีกประการหนึ่งของอนุปิยนิคม ก็ในฐานะที่ เป็นบ้านเกิดของ พระทัพพมัลลบุตร พระสาวกผู้มีประวัติชีวิตพิเศษ และเป็นพระสาวกผู้มีชื่อเสียงท่านหนึ่ง4

อ้างอิง

แหล่งที่มาดั้งเดิม: ${vars.title} แบ่งปันกับ ใบอนุญาต Creative Commons Attribution-ShareAlike 3.0

Footnotes

  1. Buddhism, Diplomacy, and Trade: The Realignment of Sino-Indian Relations, 600-1400 By Tansen Sen

  2. Raychaudhuri, Hemchandra (1972) Political History of Ancient India, University of Calcutta, Calcutta, pp. 85, 113

  3. มหาชนบท 16 แคว้น แคว้นสำคัญในชมพูทวีปสมัยพุทธกาล จากเว็บ ข้vichadham.com

หมวดหมู่