ไทโรซีน คืออะไร

ไทโรซีน (; ) เป็นกรดอะมิโนชนิดหนึ่ง ซึ่งกรดอะมิโนเป็นหน่วยย่อยของโปรตีน โดยคำว่า ไทโรซีน มาจากคำว่า "tyros" ในภาษากรีก แปลว่า ชีส เนื่องจาก ไทโรซีส ถูกพบครั้งแรกจากการย่อยชีสในปี ค.ศ. 1846 12

การสังเคราะห์ในสิ่งมีชีวิต

<figure> <img src="Tyrosine_biosynthesis.svg" title="การสังเคราะห์ไทโรซีนในพืช" width="400" alt="การสังเคราะห์ไทโรซีนในพืช" /> <figcaption aria-hidden="true">การสังเคราะห์ไทโรซีนในพืช</figcaption> </figure>

ร่างกายสามารถสังเคราะห์ ไทโรซีน ได้จาก ฟีนิลอะลานีน ซึ่งฟีนิลอะลานีน เป็นกรดอะมิโนจำเป็น ร่างกายไม่สามารถสังเคราะห์เองได้ ต้องรับประทานจากอาหารเท่านั้น

โดยเอมไซม์ฟินิลอะลานีนไฮดรอกซีเลส เป็นตัวเร่งปฏิกิริยาเปลี่ยน ฟีนิลอะลานีน ให้เป็น ไทโรซีน

ตัวอย่างโรค

โรคไทโรซีนสูงในเลือดชนิดที่ 1 (Tyrosinemia Type I)

ความสำคัญ

ไทโรซีน เป็นสารตั้งต้นของสารสื่อประสาทได้แก่

  1. โดปามีน ทำหน้าที่ควบคุมการเคลื่อนไหวต่ออารมณ์ของบุคคล ช่วยให้มีความตื่นตัว กระฉับกระเฉง มีสมาธิมากขึ้น ไวต่อสิ่งกระตุ้นต่างๆ รอบตัว
  2. นอร์เอพิเฟริน (นอร์อะดรีนาลีน) ทำหน้าที่ เพิ่มอัตราการเต้นของหัวใจ
  3. เพิ่มการหายใจเร็วขึ้น ทำให้ออกซิเจนไปเลี้ยงร่างกายและสมองมากขึ้น ทำให้ร่างกายและสมองทำงานได้ดีกว่าปกติ และหยุดกระบวนการบางอย่างของร่างกายเช่น กระบวนการย่อยอาหาร
  4. เอพิเนฟริน (อะดรีนาลีน) ทำหน้าที่คล้าย นอร์เอพิเฟริน

การนำมาใช้

เนื่องจาก ไทโรซีน เป็นสารตั้งต้นของสารต่างๆ ที่กล่าวมาข้างต้น จึงมีการนำ ไทโรซีน มาเป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร โดยมีการศึกษาวิจัยพบว่า ช่วยกระตุ้นสมอง ลดความเครียด ลดอาการซึมเศร้า345

แหล่งอาหาร

ไทโรซีน พบได้ในผลิตภัณฑ์อาหารที่มีโปรตีนสูง เช่น ไก่, ไก่งวง, นม, โยเกิร์ต, ชีส, ถั่วลิสง, ถั่วอัลมอนด์, เมล็ดฟักทอง, งา, ถั่วเหลือง, ถั่วลิมา, อาโวคาโด และกล้วย เป็นต้น

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

แหล่งที่มาดั้งเดิม: ${vars.title} แบ่งปันกับ ใบอนุญาต Creative Commons Attribution-ShareAlike 3.0

Footnotes

  1. Tyrosine. สืบค้นเมื่อ 2015-07-13

  2. https://dx.doi.org/10.1016%2FS0361-9230%2898%2900163-4

หมวดหมู่