การหย่า คืออะไร

การหย่าร้าง คือ การหย่าเป็นการกระทำเพื่อสิ้นสุดความสัมพันธ์ทางการสมรสที่ทำขึ้นอย่างถูกต้องตามกฎหมายและมีการแจ้งการสมรสเป็นหลักฐาน ทั้งนี้สามารถกระทำได้โดยการตกลงกันหรือโดยการตัดสินของศาล

สาเหตุ

การนอกใจ การคบชู้เป็นเหตุผลทั่วไปที่ทำให้ชีวิตคู่พังทลายโดยที่ความปรารถนาทางเพศอาจเป็นสาเหตุให้เกิดการนอกใจ ซึ่งนี่รวมถึงความไม่เท่าเทียมในเรื่องของความต้องการทางเพศ ความไม่พอใจหรือการโกรธเคืองคู่รักของคุณ และความเสื่อมสลายในความสัมพันธ์รักระหว่างสามีกับภรรยา1

ความแตกต่างที่ทำให้ไม่สามารถเข้ากันไม่ได้นั้น มักถูกใช้เป็นข้ออ้างสำหรับการหย่าร้าง การเข้ากันไม่ได้อาจเป็นปัจจัยหนึ่งของการหย่าร้างโดยเฉพาะคู่รักที่แต่งงานกันเร็วจนเกินไป บางครั้งในที่สุดพวกเขาก็พบว่าคู่รักของเขาหรือเธอนั้น ไม่ใช่คนที่เขาหรือเธอรู้จักอีกต่อไป แต่บางครั้งมันกลับสายไปแล้ว ความแตกต่างในเรื่องของรูปแบบการเป็นพ่อหรือแม่ สามารถทำให้เกิดความตึงเครียดในชีวิตแต่งงานได้ เมื่อมีสมาชิกตัวน้อยเพิ่มขึ้นมาอีกหนึ่งคน2

ลักษณะ

การหย่ามีอยู่ ๒ กรณีคือ

๑. การหย่าโดยความยินยอมของทั้ง ๒ ฝ่าย

(๑.๑) ต้องทำเป็นหนังสือและมีพยานลงลายมือชื่อรับรองอย่างน้อย ๒ คน (ตามมาตรา ๑๕๑๔ วรรคสอง) (๑.๒) ต้องได้มีการจดทะเบียนหย่าตามมาตรา ๑๕๑๕ จึงจะสมบูรณ์

<u>ข้อสังเกต</u> 

ก. สามีภริยาทำหนังสือหย่ากันโดยถูกต้อง แต่คู่หย่าอีกฝ่ายไม่ยอมไปจดทะเบียนหย่า คู่สัญญาสามารถฟ้องคดีต่อศาลให้บังคับให้หย่าจากกันตามหนังสือหย่าโดยไม่จำเป็นต้องมีเหตุหย่า (ตามมาตรา ๑๕๑๖ ถ้าศาลบังคับให้หย่าแล้วยังดื้อไม่ไปจด ก็ถือคำพิพากษาของศาลแทนการแสดงเจตนาได้ อายุความในการฟ้องคดีมีอายุความ ๑๐ ปี)

ข. การหย่ากันหากทำเป็นเพียงหนังสือก็บังคับได้เฉพาะคู่สามีภริยาเท่านั้น แต่จะไปอ้างเหตุให้เสื่อมสิทธิบุคคลภายนอกผู้ทำการโดยสุจริตไม่ได้ เว้นแต่จะได้มีการจดทะเบียนหย่าแล้ว

๒. การหย่าโดยคำพิพากษาของศาล การฟ้องหย่าต้องอาศัยเหตุการหย่า (ตามมาตรา ๑๕๑๖) มีเหตุ ๑๒ ประการ ดังนี้

๒.๑ สามีหรือภริยาอุปการะเลี้ยงดูหรือยกย่องหญิงอื่นฉันสามีหรือภริยา เป็นชู้หรือมีชู้ หรือร่วมประเวณีกับผู้อื่นเป็นอาจิณ

<u>ข้อสังเกต</u>

(๑) กรณีนี้หมายความเฉพาะชายกับหญิงเท่านั้น ถ้าชายกับชาย หรือหญิงกับหญิง ไม่เข้ากรณีนี้

(๒) ฝ่ายที่มีชู้จะต้องรู้ว่าหญิงหรือชายนั้นมีคู่สมรสแล้ว หากไม่รู้ก็ไม่เรียกว่าเป็นชู้ แต่ถ้าเป็นการข่มขืนกระทำเชาเราแม้จะรู้ก็ไม่ถือว่าเป็นชู้ แต่เป็นการล่วงเกินในทำนองชู้สาวและประพฤติชั่ว

(๓) การเป็นชู้แม้กระทำเพียงครั้งเดียวก็ถือเป็นเหตุฟ้องหย่าแล้วซึ่งต่างจากการร่วมประเวณีกับหญิงอื่นที่จะต้องกระทำเป็นอาจิณถึงเป็นเหตุฟ้องหย่าได้

(๔) การร่วมประเวณีกับหญิงอื่นเป็นอาจิณจะต้องเป็นการร่วมเพศตามธรรมชาติ ถ้าทางทวารหนักก็ไม่ใช่ และการที่ชายไปเที่ยวหญิงบริการเป็นประจำก็ถือได้ว่าเป็นการร่วมประเวณีกับหญิงอื่นเป็นอาจิณแล้ว

(๕) แนวคำวินิจฉัยของศาลฎีกาเกี่ยวกับภาระการพิสูจน์ในคดีชู้ แม้จะไม่มีพยานรู้เห็นในเวลาที่ชายหญิงร่วมประเวณีกันแต่ถ้ามีพยานพฤติเหตุแวดล้อม เชื่อได้ว่าชายและหญิงรักใคร่ชอบพอกันในทางชู้สาว ไปอยู่ด้วยกันสองต่อสองในที่ลับซึ่งมีโอกาสจะร่วมประเวณีกันได้ ก็สามารถฟังได้ว่าามีชู้ได้

(๖) ศาลพิพากษาให้หย่ากันเพราะเหตุตามข้อ ๑ นี้ สามีหรือภริยามีสิทธิได้รับค่าทดแทนทั้งจากภริยาหรือสามี และจากชายชู้หรือหญิงมีสามีที่ร่วมทำชู้ หรือจากชายอื่นหรือหญิงอื่นที่เป็นเหตุแห่งการหย่านั้นด้วย (ตามมาตรา ๑๕๒๓)

๒.๒ สามีหรือภริยาประพฤติชั่วไม่ว่าจะมีความผิดอาญาหรือไม่ ซึ่งทำให้อีกฝ่ายหนึ่ง

(๑) ได้รับความอับอายขายหน้าอย่างร้ายแรง

(๒) ได้รับการดูถูกเกลียดชังเพราะเหตุที่ยังคงเป็นสามีหรือภริยาที่ประพฤติชั่วอยู่ต่อไป

(๓) ได้รับความเสียหายหรือเดือดร้อนเกินควรในเมื่อเอาสภาพฐานะและความเป็นอยู่ร่วมกันฉันสามีหรือภริยามาคำนึงประกอบ

เหตุหย่าที่กล่าวมาแล้วข้างต้น มีข้อยกเว้นว่าถ้าเป็นเหตุ ๔ ประการนี้จะอ้างเหตุหย่าไม่ได้ คือ

(๑) สามีหรือภริยารู้เห็นหรือยินยอมให้ภริยาหรือสามีอุปการะหญิงหรือชายอื่น เป็นชู้หรือมีชู้ หรือร่วมประเวณีกับผู้อื่น หรือรู้เห็นหรือยินยอมหรือร่วมในการที่สามีหรือภริยาประพฤติชั่วนั้น

(๒) สามีหรือภริยาไม่สามารถร่วมประเวณีได้ตลอดกาลเพราะการกระทำของอีกฝ่าย

(๓) การทำผิดทัณฑ์บนเป็นเหตุเล็กน้อยหรือไม่สำคัญเกี่ยวแก่การอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยาโดยปกติสุข

(๔) ฝ่ายที่มีสิทธิฟ้องหย่าได้กระทำอันแสดงให้เห็นว่าได้ให้อภัยแล้ว

กฎหมายในประเทศไทย

การหย่าโดยการตกลงกันตามกฎหมายแพ่ง (มาตรา 834 กฎหมายแพ่ง)

 เงื่อนไขข้อกำหนด

สำหรับคู่สมรสที่หย่าโดยการตกลงกัน ต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขข้อกำหนดดังต่อไปนี้3

1. คู่สมรสทั้งสองฝ่ายตกลงที่จะหย่า

2. คู่สมรสทั้งสองฝ่ายมีความสมัครใจที่จะหย่าไม่ใช่เพียงแค่ดำเนินการแจ้งเรื่องการหย่าเท่านั้น แต่การดำเนินการดังกล่าวจะสมบูรณ์ก็ต่อเมื่อศาลได้รับรายงานการแจ้งการหย่านั้น ๆ ด้วย (คำพิพากษาศาลสูงสุดที่ 93Mau 171 ลงวันที่ 11 มิถุนายน 2536)

3. กรณีที่ต้องการหย่าร้าง หากเป็นผู้ที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ จะต้องได้รับการยินยอมจากผู้ปกครอง หรือตัวแทนก่อน จึงจะหย่าร้างได้(มาตรา835 และมาตรา 808 (2) กฎหมายแพ่ง)

 เงื่อนไขข้อกำหนดทางวิธีการ

การให้คำแนะนำ และระยะการพิจารณา

บุคคลใดที่ตั้งใจจะหย่าโดยการตกลงกัน ควรขอคำแนะนำเกี่ยวกับการหย่าจากที่ศาลครอบครัวจัดหาให้ก่อน และถ้าจำเป็น ศาลครอบครัวอาจแนะนำให้ทั้งสองฝ่ายรับคำปรึกษากับที่ปรึกษามืออาชีพผู้มีความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์ในการให้คำปรึกษา (มาตรา 836-2 (1) กฎหมายแพ่ง)

ศาลครอบครัวจะตัดสินยืนยันให้ทำการหย่าได้นับแต่ที่คู่สมรสรับคำแนะนำเกี่ยวกับการหย่าแล้วเป็นเวลา 3 เดือน ในกรณีที่คู่สมรสมีบุตรที่ต้องดูแล และ 1 เดือน ในกรณีที่ไม่มีบุตร (มาตรา 836-2 (2) กฎหมายแพ่ง) โดยทั้งสองฝ่ายจะต้องยื่นข้อตกลงเป็นลายลักษณ์อักษรว่าใครจะเป็นผู้เลี้ยงดูบุตร และ/หรือมีอำนาจดูแลบุตร หรืออาจขอคำสั่งจากศาลครอบครัว (มาตรา 836-2 (4) กฎหมายแพ่ง)

ศาลครอบครัวอาจยกเว้น หรือย่นระยะเวลาที่ระบุข้างบนได้ ถ้ามีสถานการณ์เร่งด่วนที่ต้องดำเนินการตามวิธีการหย่า เช่น มีฝ่ายหนึ่งที่คาดว่าจะได้รับความทรมานที่ไม่สามารถทนได้จากความรุนแรงในบ้าน (มาตรา 836-2 (3) กฎหมายแพ่ง)

การแจ้งการหย่า

การหย่าโดยการตกลงจะมีผลเมื่อมีการแจ้งการหย่านั้นตาม รัฐบัญญัติว่าด้วยการจดทะเบียน ฯลฯ อันเกี่ยวกับความสัมพันธ์ทางครอบครัว หลังจากได้รับคำสั่งยืนยันจากศาลครอบครัว (มาตรา 836 (1) กฎหมายแพ่ง)

 การทำให้เป็นโมฆะ/การเพิกถอนของการหย่าโดยการตกลง

แม้จะได้ยื่นแจ้งการหย่าแล้ว แต่การหย่าโดยการตกลงนั้นจะเป็นโมฆะถ้าทั้งสองฝ่ายไม่ตกลงที่จะหย่า และบุคคลใดที่ประกาศเจตนาของการหย่าโดยทุจริต หรือการบีบบังคับ อาจเรียกร้องต่อศาลครอบครัวเพื่อให้เพิกถอนก��รหย่าดังกล่าวได้ (มาตรา 838 กฎหมายแพ่ง)

อำนาจการตัดสินคดีเฉพาะของการทำให้เป็นโมฆะ/การเพิกถอนของการหย่า

การฟ้องร้องให้เป็นโมฆะ หรือการเพิกถอนการหย่าจะเป็นเรื่องของอำนาจการพิจารณาคดีเฉพาะของศาลครอบครัวที่ระบุไว้ดังต่อไปนี้ (มาตรา 22 รัฐบัญญัติว่าด้วยการฟ้องร้องคดีครอบครัว)

1. ศาลทั่วไปในพื้นที่ที่คู่สมรสทั้งสองฝ่ายมีถิ่นที่อยู่ ซึ่งอยู่ในเขตที่อยู่ภายใต้อำนาจของศาลครอบครัวแห่งเดียวกัน

2. ศาลทั่วไปในพื้นที่ที่คู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีถิ่นที่อยู่ ซึ่งอยู่ในเขตที่อยู่ภายใต้อำนาจของศาลครอบครัว ที่คู่สมรสมีถิ่นที่อยู่สุดท้าย

3. ถ้าไม่มีทั้งข้อ 1 และ2 ตามที่ระบุไว้ด้านบน ถ้าคู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งตั้งเรื่องฟ้องร้องอีกฝ่าย ให้ฟ้องต่อศาลครอบครัวที่อยู่ในพื้นที่ที่มีศาลทั่วไปที่คู่สมรสอีกฝ่ายมีถิ่นที่อยู่ได้ และถ้าเป็นการฟ้องร้องคู่สมรสทั้งสองฝ่าย ให้ฟ้องต่อศาลครอบครัวที่อยู่ในพื้นที่ที่มีศาลทั่วไปที่คู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีถิ่นที่อยู่

4. ถ้าคู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเสียชีวิต ให้ฟ้องต่อศาลครอบครัวที่อยู่ในพื้นที่ที่มีศาลทั่วไปที่คู่สมรสผู้ที่เสียชีวิตมีถิ่นที่อยู่

5. ถ้าคู่สมรสทั้งสองฝ่ายเสียชีวิต ให้ฟ้องต่อศาลครอบครัวที่อยู่ในพื้นที่ที่มีศาลทั่วไปที่คู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีถิ่นที่อยู่สุดท้าย

 ผู้ที่มีสิทธิยื่นฟ้องร้องเรื่องการทำให้การหย่าเป็นโมฆะ

คู่สมรสทั้งสองฝ่าย ผู้แทนตามกฎหมายของคู่สมรส หรือญาติภายในลำดับที่สี่ของความสัมพันธ์ อาจทำการฟ้องร้องเกี่ยวกับการเป็นโมฆะของการหย่าได้ตลอดเวลา (มาตรา 23 รัฐบัญญัติว่าด้วยการฟ้องคดีครอบครัว)

บุคคลอื่นที่มีสิทธิฟ้องร้องเรื่องการเป็นโมฆะ/การเพิกถอนการหย่า

บุคคลอื่นที่มีสิทธิฟ้องร้องเกี่ยวกับการเป็นโมฆะ/การเพิกถอนการหย่า มีดังต่อไปนี้ (มาตรา 24 รัฐบัญญัติว่าด้วยการฟ้องคดีครอบครัว)

1. กรณีที่คู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งทำการฟ้องร้องเกี่ยวกับการเป็นโมฆะ/การเพิกถอนการหย่า-คู่สมรสอีกฝ่าย

2. กรณีที่บุคคลที่สามทำการฟ้องร้องเกี่ยวกับการเป็นโมฆะ/การเพิกถอนของการหย่า คู่สมรสทั้งสองฝ่าย (คู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งถ้าอีกฝ่ายเสียชีวิต)

3. เมื่อฝ่ายที่ระบุไว้ในข้อ 1 และ 2 ข้างบนเสียชีวิต อัยการ

การหย่าโดยคำสั่งศาลตาม กฎหมายแพ่ง (มาตรา 840 กฎหมายแพ่ง)

 เหตุแห่งการหย่าตามคำสั่งศาล

ท่านอาจฟ้องหย่าต่อศาลครอบครัวในกรณีใดกรณีหนึ่งดังต่อไปนี้ได้

1. ถ้าคู่สมรสของท่านมีการกระทำที่ไม่ซื่อสัตย์

※ การกระทำที่ไม่ซื่อสัตย์เป็นความหมายที่กว้างซึ่งรวมทั้งขอบเขตที่กว่างของความประพฤติไม่ซื่อสัตย์ที่อาจเข้าข่ายการเป็นชู้ (คำพิพากษาศาลสูงสุดที่ 89 Mue 1115 ลงวันที่ 24 กรกฎาคม 2533)

2. ถ้าคู่สมรสของท่านทอดทิ้งท่านด้วยความประสงค์ร้าย

※ การทอดทิ้งด้วยความประสงค์ร้าย หมายถึงความประพฤติของการไม่มีความรับผิดชอบต่อการอยู่ร่วมกันต่อการช่วยเหลือทางการเงิน และการช่วยคู่สมรสอีกฝ่ายโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร

3. ถ้าท่านถูกกระทำทารุณกรรมอย่างร้ายแรงโดยคู่สมรส หรือบรรพบุรุษสายตรงของคู่สมรส

4. ถ้าบรรพบุรุษสายตรงของท่านถูกทารุณกรรมอย่างร้ายแรงโดยคู่สมรสของท่าน

5. ถ้าไม่ว่าคู่สมรสของท่านเสียชีวิต หรือมีชีวิตโดยไม่รู้เป็นเวลาสามปี หรือมากกว่า

6. ถ้ามีเหตุร้ายแรงอย่างอื่นที่ทำให้มีความลำบากที่จะดำเนินชีวิตการสมรสต่อไป

เหตุร้ายแรงอย่างอื่นที่ทำให้มีความลำบากในการครองชีวิตสมรส หมายถึง สถานการณ์ในการดำเนินชีวิตคู่ของคู่สมรสที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของความรัก และความไว้วางใจถูกทำลายโดยไม่มีทางแก้ไขได้ และการดำเนินต่อไปของชีวิตการสมรสนั้น ทำให้คู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งด้รับความทุกข์ทรมานจนไม่สามารถทนได้ ซึ่งในการพิจารณาตัดสินว่ามีสถานการณ์เช่นนั้นจริงหรือไม่ ต้องพิจารณาองค์ประกอบ และสภาวการณ์หลายอย่าง เช่น ทั้งสองฝ่ายมีความสมัครใจที่ดำเนินชีวิตการสมรสต่อไปหรือไม่ ฝ่ายไหนเป็นผู้รับผิดชอบต่อความล้มเหลวของการสมรสในระดับไหน ทั้งคู่สมรสกันมานานเท่าไร มีบุตรหรือไม่ ทั้งสองฝ่ายอายุเท่าไร และทั้งสองฝ่ายหาเลี้ยงชีพได้หรือไม่หลังจากการหย่า (คำพิพากษาศาลสูงสุดเลขที่ 90Meu 1067 ลงวันที่ 9 กรกฎาคม 2534)

 วิธีการของการหย่าตามคำสั่งศาล

• การไกล่เกลี่ย

เนื่องจากการหย่าตามคำสั่งศาลเป็นเรื่องที่ต้องมีการฟ้องร้องคดีครอบครัวประเภท Bดังนั้น บุคคลใดที่ตั้งใจจะขอให้มีการหย่าตามคำสั่งศาล ต้องยื่นคำร้องต่อศาลครอบครัวก่อนเพื่อให้ทำการไกล่เกลี่ย (ตรา 50 (1) รัฐบัญญัติว่าด้วยการฟ้องคดีครอบครัว)

ถ้าท่านยื่นฟ้องโดยไม่ผ่านกระบวนการไกล่เกลี่ย ท่านจะถูกส่งกลับไปเพื่อการไกล่เกลี่ย โดยมีข้อแม้ว่า จะไม่ใช้วิธีนี้ เมื่อเห็นว่าเป็นไปไม่ได้ที่จะออกหมายเรียกฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง หรือ ทั้งสองฝ่าย หรือ ว่าเป็นไปไม่ได้ที่จะทำการไกล่เกลี่ย แม้คดีดังกล่าวจะถูกส่งไปทำการไกล่เกลี่ย (มาตรา 50 (2) รัฐบัญญัติว่าด้วยการฟ้องคดีครอบครัว)

วิธีการฟ้องร้อง

ถ้ามีการตัดสินใจที่จะไม่มีการไกล่เกลี่ย ยังไม่ได้ทำการไกล่เกลี่ย หรือการตัดสินที่มีค่าเท่ากับการไกล่เกลี่ย ถูกทำให้ใช้ไม่ได้เพราะมีความขัดข้อง ถือว่าได้มีการฟ้องร้องแล้ว เมื่อมีการขอให้มีการไกล่เกลี่ย (มาตรา 49 กฎหมายฟ้องร้องคดีครอบครัว มาตรา 36 รัฐบัญญัติว่าด้วยการไกล่เกลี่ยของศาลของข้อพิพาททางแพ่ง)

การหย่ามีผลเมื่อมีคำพิพากษาให้หย่า (มาตรา 12 กฎหมายการฟ้องรองคดีครอบครัว มาตรา 205 กฎหมายการพิจารณาความแพ่ง) และบุคคลที่ดำเนินการฟ้องร้องควรรายงานการหย่าภายใน 1 เดือน นับจากวันที่มีคำพิพากษาสุดท้ายให้หย่า โดยการยื่นสำเนาที่มีการรับรองของเอกสารการฟ้องคดีและหนังสือยืนยัน (มาตรา 78 และ 58 รัฐบัญญัติว่าด้วยการจดทะเบียน ฯลฯ อันเกี่ยวกับความสัมพันธ์ทางครอบครัว)

 ผลของการหย่าตามคำสั่งศาล

 ผลโดยทั่วไป

เมื่อมีการหย่า ความสัมพันธ์ทางการสมรสจะถูกยกเลิก สิทธิ และหน้าที่ทุกชนิดที่เกี่ยวเนื่องกับการสมรสจะสิ้นสุดลง และเมื่อความสัมพันธ์ทางการสมรสที่มีสิ้นสุดลง (มาตรา 775 (1) กฎหมายแพ่ง) ทั้งสองฝ่ายอาจทำการสมรสใหม่ได้

ผลของบุตร

ถ้ามีบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ เมื่อทำการหย่า บิดามารดาจะต้องตัดสินใจและตกลงกันว่าใครจะเป็นผู้ปกครองบุตร (มาตรา 836-2 (4) กฎหมายแพ่ง) นอกจากนั้น จะต้องพิจารณาเรื่องต่างๆ เกี่ยวกับการเลี้ยงดูบุตร เช่น การคุ้มครองบุตร และค่าใช้จ่ายในการเลี้ยงดูบุตร (มาตรา 837 กฎหมายแพ่ง)

บุตร และบิดาหรือมารดาที่ไม่ได้ดูแลบุตร จะมีสิทธิเยี่ยม (มาตรา 837-2 (1) กฎหมายแพ่ง) โดยมีข้อแม้ว่า ศาลครอบครัวอาจจำกัด หรือริดรอนสิทธิเยี่ยมโดยอาศัยอำนาจของศาล หรือตามคำของอีกฝ่ายหนึ่ง ถ้าเห็นว่าจำเป็นต้องใช้มาตรการดังกล่าวเพื่อสวัสดิภาพของบุตร (มาตรา 837-2 (2) กฎหมายแพ่ง)

สิทธิเยี่ยมที่กล่าวไว้ข้างบน หมายความว่า บิดาหรือมารดาฝ่ายที่ไม่ได้ดูแลบุตรมีสิทธิที่จะพบ และพูดคุยกับบุตร รวมทั้งการทำกิจกรรมต่าง ๆ เช่น แลกเปลี่ยนจดหมาย พูดโทรศัพท์ แลกเปลี่ยนของขวัญ อยู่กับบิดาหรือมารดาในวันสุดสัปดาห์ ฯลฯ

ผลต่อทรัพย์สิน

เมื่อมีการหย่าเกิดขึ้นคู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งอาจเรียกร้องของการแบ่งทรัพย์สินจากอีกฝ่ายหนึ่งภายใน2 ปี หลังจากทำการหย่าดังกล่าว (มาตรา 839-2 กฎหมายแพ่ง)

ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดยังอาจเรียกร้องค่าชดเชยความเสียหายจากอีกฝ่ายที่ทอดทิ้งได้ (มาตรา 843 และ 806 กฎหมายแพ่ง)

ผลของการหย่าร้าง

ผลกระทบทางด้านกฎหมาย

๑. การใช้อำนาจปกครองบุตรหลังการหย่า4 (มาตรา ๑๕๒๐) แบ่งออกเป็น ๒ กรณี ๑.๑ กรณีการหย่าโดยความยินยอมของคู่สมรสทั้งสองฝ่าย เป็นไปตามข้อตกลงว่าใครจะเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรโดยข้อตกลงดังกล่าวต้องทำเป็นหนังสือ จะตกลงกันด้วยวาจาไม่ได้ ๑.๒ การหย่าโดยคำพิพากษาของศาล ศาลเป็นผู้ชี้ขาดว่าสามีหรือภริยาฝ่ายใดจะเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตร โดยต้องคำนึงถึงความผาสุกและประโยชน์ของบุตรนั้นเป้นสำคัญ ข้อสังเกต (๑) แม้ไม่มีคำขอศาลก็ยกปัญหาเรื่องนี้ขึ้นมาวินิจฉัยได้เองตามคำพิพากษาฎีกาที่ ๖๔๗๑/๒๕๔๘  คำพิพากษาฎีกาที่ ๖๔๗๑/๒๕๔๘ จำเลยสมัครใจแยกกันอยู่กับโจทก์เพราะเหตุที่โจทก์จำเลยไม่อาจอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยาได้โดยปกติสุขตลอดมาเกิน ๓ ปี โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องหย่าจำเลยได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา ๑๕๑๖ (๔/๒) และเมื่อจำเลยมีบุตรผู้เยาว์ด้วยกัน ๑ คน ศาลก็มีอำนาจวินิจฉัยชี้ขาดให้โจทก์เป็นผู้ใช้อำนาจปกครองและให้จำเลยจ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูผู้เยาว์ได้ตามมาตรา ๑๕๒๐ วรรคสอง และมาตรา ๑๕๒๒ วรรคสอง ไม่เป็นการพิพากษาเกินคำขอ (๒) ภายหลังผู้ที่ศาลสั่งให้มีอำนาจปกครองบุตรประพฤติตัวไม่สมควรหรือมีพฤติการณ์เปลี่ยนแปลงไป ศาลมีอำนาจสั่งเปลี่ยนตัวผู้ใช้อำนาจปกครองนั้นได้ (๓) มารดาหรือบิดาอีกฝ่ายหนึ่งแม้จะไม่มีอำนาจปกครองบุตรแต่ก็มีสิทธิติดต่อกับบุตรของตนได้ตามสมควรแล้วแต่พฤติการณ์ (ตามมาตรา ๑๕๘๔/๑)

๒. การอุปการะเลี้ยงดูบุตรหลังการหย่า - การที่สามีและภริยา���ู่หย่าทำความตกลงกันไว้ในสัญญาหย่าว่าฝ่ายใดจะออกเงินค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรเป็นเงินเท่าใดแล้ว หากต่อมาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่ชำระตามที่ตกลงกันไว้ อีกฝ่ายหนึ่งมีสิทธิฟ้องเรียกให้จ่ายเงินดังกล่าวที่ค้างชำระตามสัญญา และที่จะต้องชำระต่อไปในอนาคตตามที่กำหนดไว้ในสัญญาได้ - กรณีที่ไม่ได้ตกลงกันไว้ว่าฝ่ายใดมีหน้าที่ต้องอุปการะเลี้ยงดูบุตรเป็นจำนวนเท่าใด หากคู่หย่าคนใดได้ออกค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์ไปจำนวนเท่าใด ก็มีสิทธิเรียกให้ภริยาหรือสีอีกฝ่ายชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูที่ตนได้ออกไปก่อนนับแตวันหย่าจนกระทั่งบุตรบรรลุนิติภาวะได้ เพื่อแบ่งส่วนความรับผิดในฐานะที่เป็นลูกหนี้ร่วมและเข้าใช้หนี้นั้น - อายุความฟ้องร้องเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์มีอายุความ ๕ ปี นับแต่วันที่บิดามารดาหรือฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้ชำระค่าอุปการะเลี้ยงดู ในกรณีที่บิดามารดาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้ชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูไปฝ่ายเดียวก็มีสิทธิเรียกร้องค่าอุปการะเลี้ยงดูจากอีกฝ่ายนับแต่วันที่ตนได้ชำระไป ซึ่งถือว่าเป็นวันที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้ (ตามมาตรา ๑๙๓/๓๓ (๔) ประกอบมาตรา ๑๙๓/๑๒)

๓. การเรียกค่าทดแทน ในการที่ศาลพิพากษาให้สามีภริยาหย่าขาดจากกันเพราะเหตที่มีการล่วงเกินในทางประเวณีนั้น สามีหรือภริยาผู้เป็นโจทก์มีสิทธิที่จะได้รับค่าทดแทนซึ่งอาจจะแบ่งออกได้เป็น ๒ กรณี คือ ๓.๑ ภริยาประพฤตินอกใจสามีโดยอุปการะเลี้ยงดูหรือยกย่องชายอื่นฉันสามี มีชู้หรือร่วมประเวณีกับชายอื่นเป็นอาจิณหรือมีการล่วงเกินกับชายอื่นในทำนองชู้สาว ๓.๒ สามีประพฤตินอกใจภริยาโดยอุปการะเลี้ยงดูหรือยกย่องหญิงอื่นฉันภริยา เป็นชู้ หรือร่วมประเวณีกับหญิงอื่นเป็นอาจิณ หรือสามีไปมีความสัมพันธ์กับหญิงอื่นในทำนองชู้สาว ข้อสังเกต ผู้เรียกค่าทดแทนจะต้องไม่รู้เห็นเป็นใจด้วย หากรู้เห้นเป็นใจด้วยก็จะเรียกค่าทดแทนไม่ได้ (ตามมาตรา ๑๕๒๓ วรรคท้าย)

๔. การเรียกค่าเลี้ยงชีพ ๔.๑ การหย่านั้นเป็นความผิดของคู่สมรสฝ่ายเดียวและการหย่านี้จะทำให้อีกฝ่ายหนึ่งยากจนลง หากประกอบด้วยหลักเกณฑ์ ๓ ประการ นี้ ก็เรียกค่าเลี้ยงชีพได้ (๑) เหตุแห่งการหย่านั้นเป็นความผิดของคู่สมรสฝ่ายที่ถูกเรียกร้องแต่ฝ่ายเดียว (๒) การหย่านั้นจะทำให้คู่สมรสฝ่ายที่เรียกค่าเลี้ยงชีพต้องยากจนลง เพราะไม่มีรายได้พอจากทรัพย์สินหรือจากแรงงานที่เคยทำอยู่ระหว่างสมรส (๓) คู่สมรสฝ่ายที่จะเรียกร้องค่าเลี้ยงชีพจะต้องฟ้องหรือฟ้องแย้งเรียกค่าเลี้ยงชีพในคดีฟ้องหย่านั้น ๔.๒ กรณีการหย่าขาดจากกันเพราะเหตุวิกลจริตหรือโรคติดต่ออย่างร้ายแรง ๔.๓ กรณีคู่หย่าตกลงชำระค่าเลี้ยงชีพกันเอง ข้อสังเกต สัญญานี้เป็นสัญญาประนีประนอมยอมความเกี่ยวกับค่าเลี้ยงชีพตามมาตรา ๑๕๒๖ ไม่ใช่สัญญาที่เกี่ยวกับทรัพย์สินระหว่างเป็นสามีภริยากันตามมาตริ๑๔๖๙ สามีหรือภริยาจึงไม่มีสิทธิอ้างมาตรา ๑๔๖๙ มาเป็นเหตุบอกล้างสัญญานี้ได้ ๔.๔ การเลิกชำระค่าเลี้ยงชีพ ๔.๕ สิทธิที่จะได้รับค่าเลี้ยงชีพจะสละหรือโอนไม่ได้และไม่อยู่ในข่ายแห่งการบังคับคดี

ผลกระทบทางด้านจิตใจ

การตัดสินใจหย่าร้างส่งผลกระทบอย่างร้ายแรงต่อครอบครัวทั้งเด็กและบิดามารดา ความเจ็บป่วย เมื่อเกิดวิกฤตการณ์ในตอนแรก ซึ่งทำให้เกิดความผิดปกติทางอารมณ์ตั้งแต่โกรธจนถึงความเศร้าโศกเสียใจจะเริ่มลดน้อยลง เมื่อเวลาผ่านไป 18 เดือน ถึง 2 ปี โดยแต่ละคนปรับตัวเข้ากับความสัมพันธ์ในรูปแบบใหม่5

อ้างอิง

แหล่งที่มาดั้งเดิม: ${vars.title} แบ่งปันกับ ใบอนุญาต Creative Commons Attribution-ShareAlike 3.0

Footnotes

  1. [http://th.theasianparent.com/5-สาเหตุที่คู่สามีภรรยา-หย่าร้าง/ สาเหตุที่คู่สามีภรรยา “หย่าร้าง”]

  2. http://52011323044g7.blogspot.com/2012/03/blog-post_5731.html

  3. http://www.rcpsycht.org/cap/detail_article.php?news_id=50

หมวดหมู่